Feeds:
Posts
Comments

Archive for November, 2020

อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ ถูกนําเสนอถึงการเป็นส่วนหนึ่งของ แนวคดโค้งเลย – เพชรบูรณ์ (Loei – Phetchabun Fold belts) โดยเกิดจากการเคลื่อนเข้าหากันของอนุทวีปสองแผ่นคือ แผ่นชาน-ไทยและอินโดจีน โดยปรากฏหลักฐานให้เห็นตั้งแต่การเป็นทะเลโบราณใน ยุคเพอร์เมียน แสดงหลักฐานการตกสะสมของตะกอนคาร์บอเนตอย่างต่อเนื่อง โดยอุทยานธรณีเสนอแหล่งธรณีวิทยาถ้ำใหญ่น้ําหนาว เป็นแหล่งธรณีวิทยาที่มีความสําคัญและโดดเด่น จากศึกษาจากซากดึกดําบรรพ์ คตข้าวสารหรือฟิวซูลินิดบริเวณถ้ำใหญ่น้ําหนาว แสดงถึงแผ่นดินบริเวณอําเภอน้ําหนาวนี้เคยเป็น ส่วนหนึ่งของพื้นทะเลโบราณ (Paleo – Tethys) ซึ่งกั้นอยู่ระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนและแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย โดยหินปูนหรือตะกอนคาร์บอเนตมีการสะสมตัวอยู่ใกล้กับฝั่งทะเลของแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน ซึ่งมีสภาพตื้นและอบอุ่น ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดภายในโลกทําให้แผ่นเปลือกโลกทั้งสองเคลื่อนตัวเข้าหากันและเกิดการปิดตัวลงของทะเลโบราณ (Paleo – Tethys) ทําให้สภาพแวดล้อมการสะสมตะกอนเปลี่ยนไป จากตะกอนคาร์บอเนตในทะเลเปลี่ยนไปเป็นตะกอนที่สะสมตัวบนบก

จากนั้นมี การสะสมตัวของตะกอนบนบกแสดงหลักฐานในแหล่งธรณีวิทยาหลายแหล่ง เช่น ผารอยตีนอาร์โคซอร์ เป็นหนึ่งในหลักฐานทางธรณีวิทยาที่สําคัญที่พบอยู่ในเขตอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ ปรากฏอยู่บริเวณเชิงผา ใกล้กับตาดห้วยน้ําใหญ่ บ้านนาพอสอง อําเภอน้ําหนาว โดยพบเป็นซากดึกดําบรรพ์รอยทางเดินประทับ อยู่บนหินทรายซึ่งมีลักษณะเป็นหน้าผาชัน แสดงลักษณะเป็นหน้าผาค่อนข้างเรียบ ชั้นหินนี้ถูกจัดให้อยู่ใน ส่วนบนของหมวดหินห้วยหินลาด กลุ่มหินโคราช มีอายุยุคไทรแอสซิกตอนปลาย เสริมด้วยแหล่งธรณีวิทยาและแหล่งธรรมชาติที่แสดงการตกสะสมของตะกอนบก เช่น แหล่งแคนยอนน้ําหนาว แหล่งน้ําตกตาดใหญ่ แหล่งน้ําตกพรานบา สื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และเข้าใจง่ายถึงการสะสมตัวของตะกอนบนบกโดยเป็นชั้นหินทราย มีกรวดปนบ้าง สลับกับหินดินดาน

มีการพบซากดึกดําบรรพ์สัตว์เลื้อยคลานอายุก่อนการเกิดไดโนเสาร์ และพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับเป็นการพบซากดึกดําบรรพ์โปรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ โดยเป็นโครงกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด มีอายุประมาณ ๒๐๐ ล้านปี (ไดโนเสาร์ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย) และระหว่างช่วงเวลาที่แผ่นเปลือกโลกเกิดการชนกัน ผลจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนและชาน-ไทยในครั้งนั้น

นอกจากทําให้เกิดปรากฏการณ์ข้างต้นแล้วยังเกิดแนวรอยคดโค้ง เลย-เพชรบูรณ์แนวรอยคดโค้งนี้เป็นแผ่นดินที่ถูกทําให้เกิดการโค้งงอและเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างใน ระหว่างช่วงเวลาที่แผ่นเปลือกโลกเกิดการชนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคดโค้งของหมวดหินน้ําดุก ซึ่งเป็นแหล่งธรณีวิทยาในอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ด้วย เป็นการร้อยเรียงเรื่องราวและหลักฐานทางธรณีวิทยาแสดงถึงการปิดของทะเลโบราณ และการเริ่มเป็นแผ่นดินได้อย่างน่าสนใจ และครบถ้วนผ่านแหล่งธรณีวิทยาและแหล่งธรรมชาติที่เชื่อมโยงกันได้เป็นอย่างดี

ด้านการอนุรักษ์ แหล่งธรณีวิทยาและแหล่งธรรมชาติส่วนใหญ่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และป่าสงวนแห่งชาติ จึงมีกฎหมายคุ้มครองแหล่งที่ชัดเจน รวมถึงซากดึกดําบรรพ์มี พรบ. คุ้มครองซากดึกดําบรรพ์ เป็นกฏหมายคุ้มครองอย่างชัดเจนเช่นกัน 

ธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์

วิวัฒนาการการเกิดแอ่งเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์มีภูเขาล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้าบริเวณพื้นที่ด้านเหนือเป็นแนวลงไปทั้งสองข้างทิศตะวันออกและทิศตะวันตก รองรับด้วยหินตะกอนที่มีอายุตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (350 ล้านปีก่อน) หินอัคนีตั้งแต่ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (250 ล้านปีก่อน) กลางแอ่งปกคลุมด้วยตะกอนปัจจุบันยุคควอเทอร์นารีและมีบางแห่งพบตะกอนยุคนีโอจีน(ประมาณ 15 ล้านปี) 

หลักฐานทางธรณีวิทยาหลายอย่างบ่งบอกว่า เดิมพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์เคยเป็นทะเลมาก่อนตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ได้แก่ กลุ่มหินที่สะสมตัวในทะเล เช่น หินปูน หินดินดาน และ พบซากดึกดำบรรพ์สัตว์ทะเล ก่อนที่จะยกตัวขึ้นเป็นภูเขาในช่วงมหายุคมีโซโซอิกเนื่องจากการชนกันของแผ่นอนุทวีปอินโดจีน (ประเทศไทยฝั่งตะวันออก) และ ชาน-ไทย (ประเทศไทยฝั่งตะวันตก) ทำให้เกิดหินที่สะสมตัวบนแผ่นดิน เช่น หินทราย หินทรายแป้ง และพบซากดึกดำบรรพ์ที่อาศัยอยู่บนบกที่รู้จักกันดี คือ ไดโนเสาร์ 

จากนั้นยุคพาลีโอจีนเกิดการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินเดียกับยูเรเซีย ต่อมาเปลือกโลกได้คลายตัวลงในช่วงยุคพาลีโอจีนตอนปลายถึงนีโอจีนตอนปลาย มีการสะสมตัวของตะกอนตามแอ่งที่เปลือกโลกทรุดตัวลงหรือคลายตัวทำให้เกิดแอ่งสะสมตะกอนยุคนีโอจีนหลายแห่งในประเทศไทย รวมทั้ง “แอ่งเพชรบูรณ์” ด้วย

Read Full Post »

การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศรีเทพ .. ปฐมบท


เมืองโบราณศรีเทพ คือ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ พื้นที่รอบ ๆ และเขาถมอรัตน์ เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยมีพื้นที่เฉพาะในเขตคันดินคูน้ำมีขนาดถึง 2889 ไร่ และยังเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นพิเศษยิ่งกว่าพื้นที่อื่น ๆ กล่าวคือ มีร่องรอยทางโบราณคดีหลายวัฒนธรรม หลายยุคหลายสมัย ทับซ้อนอยู่ในสถานที่เดียวกัน นั่นคือ โครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ปลายยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-10 จนมาเป็นสมัยที่ก่อตั้งเป็นรัฐแรกเริ่ม ที่ปรากฏมีศิลาจารึกอักษรปัลลวะและเทวรูปเคารพฮินดูรุ่นเก่า พุทธศตวรรษที่ 11-12 และมีโบราณสถานทางพุทธศาสนาสมัยทวารวดี เขาคลังใน เขาคลังนอก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 จนกระทั้ง มีโบราณสถานศาสนาฮินดูสมัยขอม ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-18 แล้วจึงล่มสลายกลายเป็นเมืองร้างไป ซึ่งเมื่อนับระยะเวลาที่ปรากฏร่องรอยที่มีมนุษย์มาตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่บริเวณนี้ จะมีเวลาต่อเนื่องทางวัฒนธรรมกันมายาวนานนับ 1000 ปี 


คุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value : OUV) ด้านวัฒนธรรมของเมืองโบราณศรีเทพ จึงสอดคล้องกับเกณฑ์ UNESCO คือ เป็นเมืองโบราณสำคัญในเส้นทางเครือข่ายทางการค้าและวัฒนธรรมสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาในการเลือกสรรชัยภูมิที่ตั้ง อันเป็นจุดเชื่อมโยงผสมผสานการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในและระหว่างภูมิภาคที่มีการพัฒนามาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณ และเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่มีความสำคัญโดดเด่นในพื้นที่ศูนย์กลางภูมิภาคตอนในของประเทศไทยแสดงถึงภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์และผสมผสานงานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาเถรวาทมหายานและศาสนาฮินดูจนมีเอกลักษณ์รูปแบบเฉพาะสกุลช่างของตนเอง 

เมื่อวันที่ 7 กค. 2562 เมืองโบราณศรีเทพ ที่ได้รับการพิจารณารับรองจากรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก 21 ประเทศ ของ UNESCO ให้ขึ้นทะเบียนบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของศูนย์มรดกโลกแล้ว โดยหลังจากนี้คณะทำงานจะต้องเตรียมเอกสาร (Nomination Dossier) เพื่อประกอบการพิจารณาในการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการต่อไป

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในอดีตนั้น มีการขุดพบโบราณวัตถุมากมาย ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่มีค่าอันเป็นการยืนยันถึงการตั้งหลักแหล่งของมนุษย์หลายยุคหลายสมัยในเมืองโบราณศรีเทพ แต่เนื่องจากว่า ที่ผ่านมานั้น ในจังหวัดเพชรบูรณ์ยังไม่มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่มีมาตรฐานความปลอดภัยพอที่จะทำการเก็บรักษา  โบราณวัตถุทั้งหลายเหล่านั้นจึงถูกนำไปจัดแสดงและเก็บรักษาไว้ตามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในที่อื่น ๆ  เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณพสถานแห่งชาติ รามคำแหง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ฯลฯ อีกทั้ง ยังมีโบราณวัตถุที่ยังกระจัดกระจายไปอยู่ตามชาวบ้านในพื้นที่ และแม้กระทั้ง มีบางส่วนถูกลักลอบนำออกไปจัดแสดงอยู่ต่างประเทศ  นอกจากนั้น ยังมีโบราณวัตถุอีกจำนวนมาก ที่จัดแสดงอยู่ที่ศูนย์ข้อมูลของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเอง แต่ยังมิได้ถูกนำมาจัดแสดงอย่างมีมาตรฐานตามระบบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

เหตุผลเพิ่มเติม การขอจัดตั้ง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศรีเทพ”

  1. เมืองโบราณศรีเทพ ได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรมของ UNESCO แล้ว จึงสมควรที่จะมีพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุของจริงทุกชิ้น อย่างถาวร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และ แหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของประเทศ
    การมาชมเมืองโบราณศรีเทพ มรดกโลกในขณะนี้ จะชมได้แค่เพียงโบราณสถาน แต่โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นหลักฐานของวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่อยู่ทับซ้อนกันในเมืองโบราณศรีเทพ กลับไม่มีให้ชม
    การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน ศรีเทพ ไว้ที่บริเวณเมืองโบราณศรีเทพนั้น จะทำให้ผู้คนที่สนใจได้เดินทางมาชมทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมรดกโลก ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้ กระจายความเจริญออกมาสู่ส่วนภูมิภาค อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย
  2. โบราณวัตถุของเมืองโบราณศรีเทพ ที่มีอยู่มากมาย แต่ได้ถูกนำไปจัดแสดงและเก็บไว้ตามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในที่อื่น ๆ หลายแห่ง จึงสมควรจะนำกลับมารวมจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ของเมืองโบราณศรีเทพแห่งเดียว
  3. การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศรีเทพ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ระดับชาติ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นพิพิธภัณฑ์ระดับท้องถิ่นหรือเพียงแค่ศูนย์ข้อมูล ก็เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันกับพิพิธภัณสถานแห่งชาติอื่น ๆ โดยโบราณวัตถุก็ยังคงเป็นของกรมศิลป์อยู่เช่นเดิม เพียงแต่จะได้รวบรวมและย้ายที่จัดแสดงมายังที่ที่เหมาะสมกว่า คือแหล่งที่โบราณวัตถุเหล่านั้นเคยอยู่มาแต่ดั้งเดิม ที่เมืองโบราณศรีเทพแห่งนี้
  4. โบราณวัตถุ ของเมืองโบราณศรีเทพ นอกจากจะถูกเก็บไว้ตามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอื่น ๆ แล้ว ยังมีอยู่กระจัดกระจายอยู่กับสถานที่และชาวบ้านในพื้นที่อีกมากมาย ซึ่งจะได้มีโครงการขอคืนโบราณวัตถุเหล่านั้นกลับคืนมา เมื่อมีพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ความมั่นใจกับผู้ที่จะนำโบราณวัตถุเหล่านี้กลับมาคืนให้ ว่า จะไม่สูญหายหรือถูกเบียดบังไป
  5. ในอนาคต จะต้องมีกระบวนการรณรงค์ขอคืนโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่มีหลักฐานว่า ถูกลักลอบนำออกไปจากเมืองโบราณศรีเทพ และถูกนำไปจัดแสดงอยู่ในต่างประเทศ เพื่อนำกลับที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศรีเทพ หากได้มีจัดตั้งขึ้นมา ได้อีกด้วย
  6. การที่กรมศิลปากรอ้างว่า ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศรีเทพ โดยไม่มีการหารือศึกษากับทางจังหวัดเพชรบูรณ์ใด ๆ เลย เพียงแต่อ้างว่า ไม่สามารถกำหนดอัตราข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์เพิ่มขึ้นได้นั้น ในประการนี้ ทางจังหวัดฯ เห็นว่า ไม่มีเหตุผลที่จะหักล้างเหตุผลความจำเป็นทั้ง 5 ข้อข้างต้นได้ ทั้งนี้ เพราะ กรมศิลปากร อาจใช้แนวทางแก้ปัญหาตามข้ออ้างดังกล่าวข้างต้นได้อีกหลายวิธี เช่น การขอเกลี่ยอัตรากำลัง บางส่วนมาจากหน่วยงานอื่นในกรมเดียวกัน ที่มีความสำคัญน้อยกว่าได้ หรือ อาจขอมติ ครม. ยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ให้ตั้งอัตรากำลังเพิ่มได้ เพื่อรองรับการเป็นมรดกโลก
  7. จังหวัดเพชรบูรณ์ ยินดีให้ความร่วมมือกับกรมศิลปากร เพื่อแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกทุกประการ เช่น จัดหาที่ดินสำหรับการก่อสร้าง อุดหนุนงบประมาณในการก่อสร้าง จัดหาสาธารณูปโภค ตลอดจนจัดหาพนักงานคนงาน ที่จะเข้าไปร่วมทำงานดูแลพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศรีเทพ หากมีการจัดตั้งขึ้นมาได้

Read Full Post »