Feeds:
Posts
Comments

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีหนึ่งเดียวในหล้า สู่ศรัทธามหาชน

     1.  ประเพณีอุ้มพระดำน้ำของชาวเพชรบูรณ์นั้น  แต่เดิมเป็นประเพณีท้องถิ่นของคนเพชรบูรณ์ที่อยู่ริมแม่น้ำป่าสัก และมีชื่อเรียกกันหลายอย่างว่า งานสารทไทยวัดไตรภูมิบ้าง งานอาบน้ำพระวัดไตรภูมิบ้าง และงานแข่งเรือวัดไตรภูมิบ้าง โดยจะเป็นงานที่จัดขึ้นที่วัดไตรภูมิ ในวันสารทไทย แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุก ปี ซึ่งในการจัดงานทำบุญวันสารทไทยนี้ จะมีการจัดกิจกรรมหนึ่งที่พิเศษขึ้นมา นั่นคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ในฐานะเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ จะต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง จากวัดไตรภูมิลงเรือไปประกอบพิธีดำน้ำที่กลางลำน้ำป่าสัก ซึ่งชาวเพชรบูรณ์ก็ได้ยึดถือปฏิบัติเช่นนี้กันมายาวนาน

     จนกระทั้งเมื่อ .. 2528 รัฐบาลในสมัยนั้น มีนโยบายให้ทุกจังหวัดคัดเลือกประเพณีที่โดดเด่นและยกให้เป็นประเพณีประจำของแต่ละจังหวัด เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์จึงได้เสนอให้นำประเพณีนี้ยกขึ้นให้เป็นประเพณีประจำจังหวัดเพชรบุรณ์ เพราะเป็นประเพณีที่แปลก มีอัตลักษณ์ และมีคุณค่า  คณะกรรมการจึงได้พิจารณาและคัดเลือกประเพณีนี้ ยกให้เป็นประเพณีประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่าประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

     2.  ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ก่อกำเนิดจากความเชื่อที่เป็นตำนานที่คนเพชรบูรณ์เล่ากันมาปากต่อปาก รุ่นต่อรุ่นมา ดังนี้

     ตำนานเล่าว่า  เมื่อประมาณ 400 กว่าปีล่วงมาแล้ว ในสมัยกลางกรุงศรีอยุธยา คนหาปลาชาวเพชรบูรณ์ ที่หาปลาในแม่น้ำป่าสัก ได้พบเหตุอัศจรรย์ กล่าวคือ ตามปกติทุกวัน จะตกเบ็ด ทอดแห จับปลากันได้มากมาย แต่ในวันนั้น ไม่มีใครจับปลาได้แม้แต่ตัวเดียว จึงมานั่งปรับทุกข์กันอยู่ริมตลิ่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณที่เรียกว่าวังมะขามแฟบพลันอากาศที่สงบเงียบอยู่ดี กลับแปรปรวน มีลมฟ้าลมฝน ฟ้าร้องฟ้าผ่า แล้วเกิดมีวังน้ำวนขึ้นในลำน้ำ หมุนวนเอาพระพุทธรูปสีทองอร่ามขึ้นมา แล้วดำผุดดำว่ายอยู่กลางลำน้ำ คนหาปลากลุ่มนั้นจึงได้โดดน้ำไปอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมามอบให้กับเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ และได้ร่วมกันอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดสำคัญกลางเมืองในสมัยนั้น ก็คือวัดไตรภูมิ 

     ครั้นในปีถัดมา เมื่อวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งตรงกับวันสารทไทย  องค์พระได้หายไปจากวัด ชาวเมืองต่างพากันช่วยหาไปทั่วทั้งเมือง แต่ก็ไม่มีผู้ใดพบเลย  จึงพากันไปยังวังมะขามแฟบ จุดที่พบองค์พระครั้งแรก ก็ได้พบองค์พระดำผุดดำว่ายอยู่กลางลำน้ำ อีกเช่นเดิม  ครั้งนี้ ชาวเมืองจึงได้อัญเชิญองค์พระกลับมาวัดไตรภูมิอีกครั้ง แล้วร่วมตกลงกันว่า ทุกวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี  เจ้าเมืองเพชรบูรณ์จะได้อัญเชิญองค์พระไปดำน้ำ ที่วังมะขามแฟบแห่งเดิม เพื่อองค์พระจะไม่หนีไปเล่นน้ำอีก  พร้อมทั้งร่วมกันขนานนามองค์พระศักดิ์สิทธิ์ว่าพระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

     3.  ชาวเพชรบูรณ์ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดพิธีนี้มาตลอดทุก ปี จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งไม่ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคใด ไม่ว่าปีไหนน้ำจะน้อย หรือปีไหนน้ำจะมาก เราก็ได้จัดพิธีตามประเพณีมาไม่เคยขาดแม้แต่ปีเดียว นอกจากนั้น คนเพชรบูรณ์ยังมีความเชื่อว่า เมื่อประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้ว ฟ้าฝนจะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ การทำมาหากินจะได้ผลดี และลำน้ำป่าสักจะกลายเป็นลำน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนจะต้องใช้น้ำด้วยความยำเกรงและต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติไม่ให้แม่น้ำสกปรกเน่าเหม็นเป็นอันขาด

     สำหรับพิธีกรรมการดำน้ำนั้น เจ้าเมืองเพชรบูรณ์จะอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงเรือจากท่าน้ำวัดไตรภูมิทวนน้ำขึ้นไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร โดยจะดำน้ำเพียง 2 ทิศและทิศละ 3 ครั้งเท่านั้น คือ ทิศเหนือหรือทิศทวนน้ำ และทิศใต้หรือทิศตามน้ำ ซึ่งก็เป็นความเชื่ออีกประการหนึ่งของคนเพชรบูรณ์ ที่ต้องการขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองได้มาดลบันดาลให้แม่น้ำป่าสักมีระดับน้ำและปริมาณน้ำที่พอดี นั่นคือ ถ้าปีใดน้ำแล้ง และต้องการให้ปีต่อไปมีน้ำเพิ่มขึ้น การดำน้ำก็จะหันหน้าขึ้นทิศเหนือก่อน แต่ถ้าปีใดน้ำมากเกิดน้ำท่วม การดำน้ำก็จะหันหน้าทิศใต้ก่อน เพื่อให้ปีต่อไปมาน้ำลดลงอยู่ในระดับพอดี จึงถือว่า ประเพณีนี้เป็นภูมิปัญญาที่เป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำมาหากินของคนเพชรบูรณ์  และแสดงถึงวิถีชีวิตของคนเพชรบูรณ์ที่ผูกพันอยู่กับแม่น้ำป่าสักเป็นอย่างมาก

     4.  พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี (ขอม แบบบายนหล่อด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ  พระกรรณยาวจรดพระอังสา  พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกระบังหน้า มีหม้อยาหรือหม้อน้ำมนต์อยู่บนพระหัตถ์ ทรงสร้อยพระศอ  พาหุรัด และประคต  มีลวดลายงดงาม อีกทั้งแลดูน่าเกรงขามอย่างยิ่ง  ส่วนประวัติการสร้างนั้นไม่ปรากฏชัดเจน แต่ชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อตามตำนานว่า พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด (.หล่มสัก) ได้รับพระราชทานจาก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ให้นำไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พร้อมทั้งให้ทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาคือพระนางสิขรมหาเทวี แต่หลังจากพ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง (.นครไทย) พระสหาย ได้ร่วมกันตีเมืองสุโขทัยคืนจากขอม กอบกู้อิสรภาพให้กับคนไทยและตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ทำให้พระนางสิงขรมหาเทวี แค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับ  จากนั้น พระนางจึงตัดสินใจโดดแม่น้ำป่าสักฆ่าตัวตาย ทำให้ไพร่พลต้องพากันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสักเพื่อหลบหนีภัยความวุ่นวายไป แต่ปรากฏว่าแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยว และกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่อัญเชิญองค์พระมานั้นแตก จนองค์พระจมดิ่งลงสู้ก้นแม่น้ำหายไป กระทั่งต่อมาคนหาปลาได้ไปพบ จนก่อให้เกิดตำนานมหัศจรรย์ประเพณีอุ้มพระดำน้ำขึ้นมา

     5.  การจัดงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำนั้น มีพัฒนาการเรื่อย มา ดังนี้ คือ แต่ดั้งเดิมนั้น จะจัดงานกัน 3 วันและจัดงานอย่างเรียบง่าย ไม่มีพิธีอะไรมากมาย เมื่อถึงวันสารทไทย ก็จะอัญเชิญองค์พระฯไปแห่รอบเมืองเพชรบูรณ์ จากนั้นก็อัญเชิญไปประกอบพิธีดำน้ำ วังมะขามแฟบ พิธีดำน้ำก็ไม่มีอะไรมาก พอไปถึงจุดกำหนด เจ้าเมืองและผู้ที่ต้องการจะร่วมดำน้ำก็กระโดดลงไปดำน้ำร่วมกันเลย เสร็จพิธีก็แห่กลับวัด ให้ผู้คนได้กราบไหว้ปิดทองกัน นอกจากนั้น ก็จะมีการพายเรือแข่งกันที่ท่าน้ำหน้าวัดไตรภูมิ แต่ที่พิเศษคือ เป็นการแข่งพายเรือทวนน้ำ ที่ไม่มีการแข่งเรือที่ไหนเหมือน
     ต่อมา เมื่อทางการได้ให้ความสำคัญการประเพณีนี้ จึงได้มีการกำหนดรูปแบบพิธีกรรมต่าง เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เข้มขลังขึ้น เช่น มีการเพิ่มการจัดงานเป็น 5 วัน  มีการจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ มีพิธีบวงสรวงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาคุ้มครองเมืองเพชรบูรณ์และคนเพชรบูรณ์ พร้อมทั้งทำการเสี่ยงทายทิศและคำอธิษฐานสำหรับการดำน้ำแต่ละครั้ง  มีการประกวดโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธมหาธรรมราชา การแห่องค์พระรอบเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นช่วงเวลาเย็น ทำให้สามารถตกแต่งขบวนประกอบแสงสีให้ดูสวยงามอลังการได้ การจัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงตำนานพิธีอุ้มพระดำน้ำสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อจะได้ชมและเข้าใจประเพณีอุ้มพระดำน้ำได้ทั้งหมด  จัดให้มีเทศกาลอาหารอร่อยของจังหวัดเพชรบูรณ์  ขบวนเรืออัญเชิญพระก็มีการตกแต่งและจัดทำโขนเรือ ส่วนพิธีกรรมในการดำน้ำนั้น ก็มีเพิ่มเติมให้มีขั้นมีตอนอันศักดิ์สิทธิ์ มีการนั่งสมาธิก่อนทำพิธี มีการกำหนดตัวบุคคลผู้ที่จะร่วมทำพิธีดำน้ำ มีการอ่านคำอธิษฐานก่อนดำน้ำแต่ละครั้ง และมีการโยนแจกจ่ายข้าวของเครื่องมงคล ข้าวต้มมัด กล้วยไข่ กระยาสารทให้กับผู้มาร่วมพิธีกันด้วย

     6.  จะเห็นได้ว่า ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ได้มีพัฒนาการเรื่อยมาตั้งแต่เริ่มต้นเป็นประเพณีท้องถิ่นธรรมดา พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีของเมือง เป็นประเพณีประจำจังหวัด และปัจจุบันนี้ ได้พัฒนาเป็นประเพณีระดับประเทศแล้ว  และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวเพชรบูรณ์เป็นล้นพ้น ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรพิธีอุ้มพระดำน้ำ เมื่อวันที่ 27 กันยายน .. 2554 ท่ามกลางการแซ่ซ้องสรรเสริญของคนเพชรบูรณ์ที่ขอพระองค์ท่าน ทรงพระเจริญ
    ประเพณีอุ้มพระดำน้ำเป็นประเพณีที่ทรงคุณค่า มีเนื้อหาที่จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ได้ในทุกขั้นตอน  การอุ้มพระดำน้ำ ก็มิใช่เป็นเพียงแค่พิธีกรรม หากแต่เป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตของคนเพชรบูรณ์ที่ผูกพันอยู่กับลำน้ำสัก และยังเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดและทรงคุณค่าของบรรพบุรุษเพชรบูรณ์ ที่ต้องการจะสอนสั่งลูกหลานเพชรบูรณ์ ด้วยวิธีการที่จะไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา นั่นคือ การแฝงคำสอนไว้ในประเพณี เพื่อให้สืบทอดกันต่อมาและต่อไป ..
     –  ภูมิปัญญา ในการรักษาคุณภาพลำน้ำสักและสิ่งแวดล้อม
     –  ภูมิปัญญาในการสร้างขวัญกำลังใจในการทำมาหากิน
     –  ภูมิปัญญา ที่ทำให้ผู้คนมีจุดรวมใจและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
     –  ภูมิปัญญา ที่ทำให้ผู้คนใกล้ชิดธรรมะและพระพุทธศาสนา
     พิธีกรรมก็มีความศักดิ์สิทธิ์ มีความสวยงาม สง่างาม อีกทั้งยังเป็นประเพณีที่คนเพชรบูรณ์มีส่วนร่วมและเป็นคนจัดกิจกรรมทั้งหมดโดยคนเพชรบูรณ์เอง ซึ่งในอนาคต ชาวเพชรบูรณ์ยังมีจุดมุ่งหวังที่จะแบ่งปันประเพณีนี้ให้เป็นที่รับรู้และศรัทธาไปสู่ผู้คนในระดับสากล ทั้งระดับอาเซียน และระดับโลกต่อไป

     7.  นับเป็นความโชคดีและเป็นบุญของชาวเพชรบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ที่เมื่อ .. 2559 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ได้กรุณามาเป็นประธานในการประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ซึ่ง ฯพณฯ ได้มองเห็นความสำคัญและความมีคุณค่าของประเพณีนี้  ฯพณฯ จึงได้มอบคำแนะนำในการปรับปรุงการจัดงานหลายประการ เพื่อให้งานดีขึ้น ยิ่งใหญ่ขึ้น ให้กับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล พร้อมทั้งรับที่จะมาเป็นประธานในประเพณีอุ้มพระดำน้ำอีกครั้งในปีต่อมา นั่นคือ ปี .. 2560 นี้เอง  ฉะนั้น จากความกรุณาของ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ในครั้งนั้น ยังผลให้เกิดความยินดีปรีดาแก่ชาวเพชรบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง และเกิดเป็นอานิสงส์อันใหญ่หลวง ทำให้ประเพณีอุ้มพระดำน้ำได้เป็นที่สนใจของวงการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศ จนได้มีการเข้ามาศึกษาเรียนรู้ และชมผลงานในอดีตที่ผ่านมา จึงทำให้ประเพณีอุ้มพระดำน้ำได้รับรางวัลกินรีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่น (Thailand Tourism Award) ประจำปี .. 2560 และยังได้เป็นแรงบันดาลใจให้ชาวเพชรบูรณ์ร่วมกันพัฒนาปรับปรุง เสริมแต่ง การจัดงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำกันครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

     8.  การจัดเตรียมงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ในปี .. 2560 นี้ คณะผู้จัดงานได้ระดมความคิดเห็นและร่วมกันวางแผนการทำงานกันมาตั้งแต่ต้นปี โดยจะมีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายประการ เช่น
    
          มีการปรับขบวนอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแห่รอบเมืองใหม่ เป็นขบวนที่ยิ่งใหญ่ถึง 9 ขบวนด้วยกัน แต่ละขบวนจะมีเนื้อหาการนำเสนอที่จะไปสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของคนเพชรบูรณ์ในทุกพื้นที่ ทุกอำเภอ สะท้อนวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนเพชรบูรณ์ทุกหมู่เหล่า โดยมีท่านนายอำเภอพร้อมทั้งคณะผู้คนร่วมขบวนจากทุกอำเภอกว่า 2000 คน
         มีการปรับการจัดสถานที่นั่งชมขบวนแห่เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 จุดชมการแสดง สามารถรองรับผู้ชมได้มากขึ้นอีกเท่าตัว และมีการจัดเทคนิคแสงสีเสียงให้กับขบวนแห่อย่างสวยงาม
         มีการตกแต่งประดับเมืองทั้งเมือง และเชิญชวนให้ผู้คนได้ร่วมมีกิจกรรม เพื่อนำเข้าสู่บรรยากาศของการจัดงานประเพณีอันแสดงถึงความศรัทธาของชาวเพชรบูรณ์ ได้แก่ การติดป้ายประชาสัมพันธ์กันทั้งเมืองเพชรบูรณ์ และทุก อำเภอ  การชักชวนให้ผู้คนตั้งโต๊ะบูชาองค์พระตลอด 2 ข้างทางที่ขบวนผ่าน
         คนเพชรบูรณ์ร่วมกันประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ และโชเชียลมีเดีย ให้คนทั้งประเทศและต่างประเทศให้ทราบกำหนดการและรายละเอียดของการจัดงาน พร้อมทั้งมีการรณรงค์ชวนคนเพชรบูรณ์กลับบ้าน ร่วมงานอุ้มพระดำน้ำ
         มีการปรับปรุงตกแต่ง จัดขบวนเรืออัญเชิญองค์พระไปดำน้ำเสียใหม่ และมีการเปลี่ยนโขนเรืออัญเชิญพระใหม่เป็นกุญชรวารีสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่ยิ่งใหญ่ทรงพลังและเป็นสัตว์ให้น้ำ อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร จึงสอดคล้องกับประเพณีอุ้มพระดำน้ำที่เกี่ยวของกับน้ำและความอุดมสมบูรณ์จากลำน้ำ
         การจัดให้ผู้คนที่มาร่วมงานได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น มีการจัดทำผ้ายันต์พระพุทธมหาธรรมราชาแจกจ่ายให้กับผู้มาร่วมงานกันทุกคน
    
     9.  การจัดงานในปีนี้ นอกจาก จังหวัดเพชรบูรณ์ เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ และชาวเพชรบูรณ์จะได้ระดมสรรพกำลังในการจัดงานอุ้มพระดำน้ำแล้ว ยังได้รับความกรุณากระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามนโยบายของ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ได้เข้ามาร่วมวางแผนการจัดงานพร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากในการจัดกิจกรรมต่าง เช่น
     กระทรวงวัฒนธรรม ได้มาร่วมวางแผนการจัดงานทุกขั้นตอน ได้สนับสนุนงบประมาณการจัดประกวดโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธมหาธรรมราชา  การจัดประกวดสำรับอาหารพื้นบ้านเพชรบูรณ์  สนับสนุนรางวัลการแข่งเรือทวนน้ำ สนับสนุนจัดมณฑลพิธีและดำเนินพิธีการทั้งหมดที่วัดโบสถ์ชนะมาร สนับสนุนป้ายประชาสัมพันธ์ หนังสือคู่มือประชาสัมพันธ์ จัดแถลงข่าวที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน จัดทำผ้ายันต์แจกจ่ายผู้มาร่วมงาน จัดให้มีการแสดงผลงานชุมชนคุณธรรมและผู้นำชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

     กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มาร่วมประชุม เพื่อแนะนำวางแผนการจัดงานและทำการประชาสัมพันธ์หลายประการ  สนับสนุนจัดการให้มีการถ่ายทอดสดขบวนอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแห่รอบเมือง ทางช่อง 9 MCOT ไปทั่วประเทศในวันที่ 19 กันยายน 2560 ตั้งแต่เวลา 18.30 . เป็นต้นไป   จัด Package Tour นำนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเพชรบูรณ์และเข้าร่วมพิธีอุ้มพระดำน้ำ  นำสื่อ On line จากส่วนกลางมาทำข่าวประชาสัมพันธ์  จัดแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฯลฯ

     10.  ฉะนั้น การจัดงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำในปี .. 2560 ของชาวเพชรบูรณ์นี้  จึงถือว่าเป็นย่างก้าวการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสำคัญของการยกระดับการจัดงานให้ยิ่งใหญ่ขึ้นเพื่อให้เป็นงานระดับสากลได้ในอนาคตตามที่คนเพชรบูรณ์ได้มุ่งหวังเอาไว้  สิ่งต่าง ที่เราได้รับมา ทั้งคำแนะนำและรูปแบบการจัดงาน ตลอดจนงบประมาณ  จากหน่วยงานที่มีประสบการณ์ มีเทคนิควิธีการจัดงานหลายแบบ ซึ่งการช่วยเหลือและคำแนะนำที่ดีเหล่านี้ ล้วนเป็นคุณูปการจากความกรุณาของ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะได้มาเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับคนเพชรบูรณ์ได้ต่อยอดการจัดงานให้ดียิ่ง ขึ้นไปอีกในปีต่อ ไป และตลอดไป  ทั้งนี้ โดยเราก็จะไม่หลงลืมแก่นของพิธีกรรมและจิตวิญญาณของประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ที่เราจะต้องรักษาให้ทรงไว้ซึ่งคุณค่าอันเป็นอัตลักษณ์ที่บรรพบุรุษของเราคนเพชรบูรณ์ได้ดำเนินการสืบทอดกันมาเนินนานรุ่นต่อรุ่น .. เอาไว้ชั่วกาลนาน

ดร.วิศัลย์  โฆษิตานนท์
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้เรียบเรียง
081-044-5566

ปาฐกถาเรื่อง  สภาพจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ ของ ขุนอินทรภักดี  ผู้แทนราษฎรจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์

แสดงโดยทางวิทยุกระจายเสียงเมื่อวันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  พุทธศักราช  ๒๔๗๗

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย

จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์เป็นจังหวัดที่ตั้งแห่งมณฑลเพ็ชร์บูรณ์มาก่อน  มีเมืองที่ขึ้นแก่มณฑลเพ็ชร์บูรณ์เวลานั้น คือ เมืองเพ็ชร์บูรณ์  เมืองหล่มศักดิ์  ต่อมาเมื่อราว  ..๒๔๕๙  ได้ยุบมณฑลเพ็ชร์บูรณ์ลงเป็นจังหวัดไปขึ้นแก่มณฑลพิษณุโลกรวมทั้งจังหวัดหล่มศักดิ์  เหตุที่ต้องยุบมณฑลเพ็ชร์บูรณ์เนื่องด้วยมีผู้คนพลเมืองน้อยเงิน ผลประโยชน์รายได้ทั้งมณฑลได้น้อยไม่พอจ่ายเป็นเงินเดือนค่าใช้สอยในการบริหารราชการของมณฑล เมื่อยุบมณฑลลงเป็นจังหวัดแล้ว  จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์คงมีอำเภอเหลืออยู่    คือ  อำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  อำเภอวิเชียร  ส่วนอำเภอไชยบาดาลซึ่งแต่ก่อนขึ่นอยู่แก่จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์นั้นได้โอนไปขึ้นแก่จังหวัดสระบุรี  เพราะอำเภอไชยบาดาลตั้งอยู่ใกล้ทางจังหวัดสระบุรีเป็นการสะดวกแกประชาชนในท้องที่อำเภอไชยบาดาลจะติดต่อกับจังหวัดสระบุรี 

ต่อมาเมื่อ  ..๒๔๗๔  ทางราชการได้ยุบจังหวัดหล่มศักดิ์  ซึ่งอยู่ติดต่อกับจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ทางทิศเหนือลงเป็นอำเภอ  มาขึ้นแก่จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์  เพื่อเป็นการประหยัดเงินแผ่นดิน  อำเภอในจังหวัดหล่มศักดิ์มีอยู่    อำเภอ  คือ  อำเภอวัดป่า  ซึ่งเป็นอำเภอที่ตั้งจังหวัด กับอำเภอหล่มเก่า  แต่โดยเหตุที่จังหวัดหล่มศักดิ์กับจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์มีระยะห่างไกลกันถึง  ๔๔  กิโลเมตร  และการคมนาคมไม่สะดวก  ทางราชการจึงให้คงมีศาลประจำจังหวัดหล่มศักดิ์  และเรือนจำอยู่ที่อำเภอวัดป่า  เพื่อให้ความสะดวกแก่พลเมืองในทางอรรถคดี  และคงให้มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขและธนาณัติคลังออมสินเพื่อสะดวกแก่ราษฎรในการสื่อสาร  แต่สถานที่ราชการที่อำเภอวัดป่า  ยังมีนามเรียกต่าง    กัน  เช่น อำเภอเรียกว่าอำเภอวัดป่า นามนี้เป็นนามเรียกใหม่ให้ตรงกับสถานที่ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอซึ่งตั้งอยู่ในตำบลวัดป่าเท่านั้น ส่วนศาลหรือที่ทำการไปรษณีย์เรียกว่า หล่มศักดิ์ อันเป็นนามเดิม  ข้าพเจ้าเห็นว่าสถานที่ราชการต่างๆ ควรเปลี่ยนเรียกนามให้ตรงกันทุกแผนก  ให้มีนามว่าหล่มศักดิ์อันเป็นนามเดิมนั้น  ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เสนอความเห็นไปทางกระทรวงมหาดไทยนานแล้ว

จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ในขณะนี้จึงคงมีอำเภอขึ้น  อำเภอ  คืออำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  อำเภอวิเชียร  อำเภอวัดป่า  อำเภอหล่มเก่า สภาวะของจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ในเวลานี้จึงเท่ากับเมื่อครั้งยังเป็นมณฑลเพ็ชรณ์บูรณ์ในครั้งก่อน

พลเมือง  เมื่อคราวสำรวจสำมะโนครัว  ..๒๔๗๒  แบ่งเป็นรายอำเภอ  มีจำนวนดังนี้ อำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  ๒๘,๖๒๗  คน  อำเภอวิเชียร  ,๑๘๑  คน  อำเภอวัดป่า  ๔๕,๓๗๐  คน  อำเภอหล่มเก่า  ๓๐,๖๘๑  คน  รวมประมาณ  ๑๑๑,๘๔๙  คน

อาณาเขตต์ของจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์  ทิศเหนือติดต่อจังหวัดเลย  ทิศใต้ติดต่อจังหวัดลพบุรี , สระบุรี  และจังหวัดนครสวรรค์  ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดชัยภูมิ  ทิศตะวันตกติดต่อจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร์  มีเนื้อที่ประมาณ  ๑๐๔๗๑.๗๖  ตารางกิโลเมตร  มีเนื้อที่เป็นป่าดงแลภูเขามาก  พื้นที่ จะทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ว่างเปล่าอยู่อีกมากมาย

การอาชีพของพลเมืองที่เป็นส่วนใหญ่  คือ  การทำนา  เลี้ยงสัตว์  มีโคกระบือและสุกรขาย  นอกจากนี้มีการทำสวนยาสูบ  ไร่พริก  ปลูกฝ้าย  เลี้ยงไหม  การทำสวนยาสูบมีชื่อเสียงว่าเป็นยาดี  ขายได้ราคา  ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นยาเพ็ชร์บูรณ์ที่ดีแท้มีบางตำบล  เช่น  ยาที่ได้ในแถวลำคลองป่าแดง  ห้วยทราย ตะพานขาด  เหล่านี้อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  เพราะเป็นที่ มีเนื้อที่ดินดีเหมาะแก่การทำสวนยาสูบ  ส่วนการปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม ทำกันแต่ในท้องที่อำเภอวัดป่าและหล่มเก่าโดยมาก  ทำกันแต่พอซื้อขายใช้กันในท้องที่  และทำพอทอผ้าไว้ใช้กันเอง  เพราะยังไม่มีตลาดขายส่ง  สินค้าของท้องที่  นอกจากสัตว์พาหนะโค  กระบือ  และสุกรแล้ว  โดยมากส่งออกนอกท้องที่ทางเรือแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน การเดินทางทางเรือเป็นการลำบากและช้ามาก ค่าโสหุ้ยในการขนลำเลียงก็สิ้นเปลืองไม่น้อย เพราะคมนาคมทางบกไม่สะดวกในฤดูน้ำ ใช้ไม่ได้เลย

การคมนาคมทางบกของจังหวัดนี้ช้านานมาแล้ว  หาได้รับการบำรุงจากรัฐบาลแต่อย่างไร  การไปมาติดต่อกับทางรถไฟจึงเป็นความลำบาก  และไม่ได้รับความสะดวกแก่ประชาชนเลย  ล่วงมาถึง ..๒๔๗๓  ทางราชการได้ลงมือสร้างทางหลวงสายกลาง  แต่สถานีรถไฟตะพานหินสายเหนือในเขตต์อำเภอท่าหลวงจังหวัดพิจิตร์ถึงสนามบินในเขตต์อำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  การสร้างทางสายนี้แต่เริ่มลงมือทำมาจนบัดนี้  ยังหาสำเร็จลงได้ไม่ ข้าพเจ้าได้ถามรัฐบาล  รัฐบาลตอบว่าจะทำให้แล้วเสร็จภายใน    ปีนี้  การสร้างทางในเวลานี้แล้วไปเป็นตอน    เป็นส่วนน้อย  ในฤดูแล้งรถยนต์พอเดินได้ถึงอำเภอเมืองเพ็ชรบูรณ์  และอำเภอวัดป่า อำเภอหล่มเก่า  โดยใช้เดินบนถนนของทางสายนี้ซึ่งกำลังจัดทำอยู่  แต่สถานีรถไฟตะพานหินถึงน้ำพุ  เชิงเขาเลี้ย  ทางด้านใต้ต่อจากน้ำพุไปต้องเดินเท้าข้ามเขาเลี้ย  ระยะทาง  ๑๐  กิโลเมตร  รถยนต์เดินข้ามเขาไม่ได้  ที่เชิงเขานี้มีผู้นำม้าต่างเลื่อนช้างไปคอยรับจ้างส่งผู้เดินทางอยู่  ทางข้ามเขาเลี้ยนี้ กรมโยธาเทศบาลยังกำลังทำ  กำหนดว่าจะให้รถยนต์เดินข้ามเขาได้ใน ..๒๔๗๘  เมื่อข้ามเขาเลี้ยไปถึงเชิงเขาด้านเหนือเรียกว่าวังชมพู  มีรถยนต์รับต่อ  เดินไปตามทางของบ้านเมือง  ซึ่งราษฎรช่วยกันสร้างและซ่อมแซมไว้  ทางตอนนี้กรมโยธาเทศบาลยังทำมาไม่ถึง  รถยนต์รับต่อจากเชิงเขาทางเหนือ  เดินต่อไปถึงอำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  อำเภอวัดป่า  และอำเภอหล่มเก่าระยะทางแต่สถานีรถไฟตะพานหิน  ถึงอำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  รวมทั้งข้ามเขาด้วยสิ้นเวลาประมาณ  ๑๓  ชั่วโมง  ถึงอำเภอวัดป่าอันเป็นที่ตั้งจังหวัดหล่มศักดิ์เก่า  สิ้นเวลาประมาณ  ๑๖  ชั่วโมง  ถึงอำเภอหล่มเก่าสิ้นเวลาประมาณ  ๑๗  ชั่วโมง  การเดินทางเฉพาะฤดูแล้งนับว่าสะดวกบ้างแล้ว  แต่การสร้างทางหลวงแต่ตะพานหินถึงสนามบินของอำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์เท่าที่กะกรุยไว้แล้วนี้  ข้าพเจ้าเห็นว่าได้ประโยชน์แก่ประชาชนและทางรัฐบาลเป็นส่วนน้อย  เพราะพลเมืองในท้องที่อำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์ซึ่งทางผ่านไปมีจำนวนน้อย  ทั้งสิ้นค้าที่จะไปป้อนทางรถไฟก็มีส่วนน้อยดังนี้  ข้าพเจ้าเห็นว่า ทางสายนี้ควรขยายไปให้ถึงอำเภอวัดป่า  อำเภอหล่มเก่า  ซึ่งเป็นอำเภออยู่ในเขตต์จังหวัดหล่มศักดิ์ที่ถูกยุบ  จะได้ประโยชน์แก่ประชาชนและรัฐบาล  เพราะ    อำเภอนี้มีพลเมืองมากกว่าอำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์ซึ่งจะดูได้จากจำนวนพลเมือง ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว  นอกจากนี้ทางจังหวัดเลย  อาจทำทางติดต่อมาเชื่อมทางสายนี้ระหว่างต่อเขตต์อำเภอหล่มเก่า  ข้าพเจ้าจึงได้เสนอการสร้างทางสายนี้ไปทางรัฐบาลพร้อมด้วยคำถามแล้ว  ได้รับตอบจากรัฐบาลว่า  จะได้สร้างทางสายนี้ให้ถึงจังหวัดเลยต่อไป  ส่วนทางน้ำนั้น มีลำน้ำป่าสัก  ใช้เรือเดินได้ในฤดูน้ำ  แต่อำเภอวัดป่า  ไปออกลำน้ำเจ้าพระยาที่อำเภอท่าเรือ พลเมืองของจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ได้อาศัยลำน้ำนี้บรรทุกสินค้าโดยทางเรือล่องไปจำหน่ายในท้องที่โดยมากการนำสินค้าไปจำหน่ายหรือรับสินค้ามาจำหน่ายในท้องที่ใช้สถานีรถไฟแก่งคอย  เป็นท่าสินค้ารับและส่ง  การเดินทางเรือลำบากมาก  เพราะลำน้ำเล็กและคดเคี้ยว  น้ำเชี่ยว  ไม่มีเรือไฟโยง  การใช้เรือไปและกลับ  ต้องใช้เวลาประมาณ    เดือนเป็นการช้ามาก

จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์  เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในป่าดง  ห่างจากการคมนาคมทางรถไฟ  และการเดินทางลำบากในท้องที่จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์จึงเต็มไปด้วยไข้ป่า  ฉะเพาะท้องที่อำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  อำเภอวิเชียร  พื้นที่มีภูเขาและป่าดงดิบมาก  จึงเป็นบ่อเกิดแห่งไข้ป่า  สถานที่    ศาลากลางจังหวัดตั้งอยู่  เป็นที่ต่ำเป็นก้นกระทะ  อากาศจึงทึบไม่ปลอดโปร่งบริเวณใกล้เคียงกับหมู่บ้านก็ยังมีป่าดงล้อมอยู่  ไข้ป่าจึงยังมีอยู่แต่ไม่มากเหมือนในระหว่างทางอันเต็มไปด้วยป่าดง  ผู้ที่ไปจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์จึงเกิดเป็นไข้ป่าในระหว่างเดินทางโดยมาก  แต่ขณะนี้ฤดูแล้ง  มีทางรถยนต์เดินได้แล้ว  การไปเพ็ชรบูรณ์  ออกจากกรุงเทพฯ    วัน  อาจถึงได้  ไม่ต้องค้างระหว่างทางอันเป็นดงของไข้ป่า  ผู้เดินทางจึงไม่ใคร่ป่วยเป็นไข้  ส่วนอำเภอวัดป่าและอำเภอหล่มเก่า  ซึ่งเป็นอำเภอของจังหวัดหล่มศักดิ์เก่านั้น  พื้นที่มีป่าไม้น้อย  และอยู่ในที่สูง  อากาศปลอดโปร่งดีกว่าอำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์และอำเภอวิเชียร  ไข้ป่ามีน้อยหรือเกือบจะว่าไม่มีทีเดียว  ส่วนโรคภัยไข้เจ็บอย่างอื่นก็มีเป็นธรรมดา  ส่วนโรคระบาดนอกจากโรคบิดมีตัวแล้วเกือบไม่ปรากฏเลย  ในจังหวัดนี้มีแพทย์แผนปัจจุบันประกาศนียบัตร    คน  อำเภอวัดป่า    คน  นับว่ายังน้อยมาก  ไม่พอกับความต้องการจองประชาชนเสียเลย  การรักษาพยาบาลราษฎรใช้การรักษาพยาบาลแผนโบราณเป็นส่วนมาก  ใช้ยารากไม้ใบไม้และเชี่อไปในทางผีสาง  จึงนับว่าชีวิตของราษฎรในจังหวัดนี้อยู่ได้ไปตามธรรมชาติ  หาได้รับการป้องกันรักษาพยาบาลถูกกับลักษณะไม่ ยิ่งอำเภอเพ็ชร์บูรณ์  อำเภอวิเชียร  ซึ่งอยู่ในบ่ออันเต็มไปด้วยไข้ป่าด้วยแล้ว  ชีวิตของพลเมืองก็ย่อมหมดเปลืองไป  ตามสถิติคนเกิดตายของ  อำเภอนี้จะเท่า   กัน  ข้าพเจ้าเห็นว่าพลเมืองของจังหวัดนี้ยังไม่ได้รับความคุ้มครองป้องกัน  และได้รับการศึกษาทางสุขภาพทางสาธารณสุขพอ  ดังเช่นการเผยแพร่สุขศึกษาทางภาพยนตร์  ก็ยังไม่เคยได้รับการเผยแพร่เสียเลย  จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่กรมสาธารณสุขจะต้องเหลียวแลดูพลเมืองในจังหวัดนี้บ้าง

  นิสสัยใจคอ  ความประพฤติ  ของราษฎรในจังหวัดนี้  เหตุที่การคมนาคมไม่สะดวก นิสสัยใจคอของราษฎรจึงไม่สู้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก  ส่วนมากราษฎรมีนิสสัยใจคออ่อนโยนเรียบร้อยมีความประพฤติดี  ซึ่งจะเห็นได้จากคดีอาชญาที่เกิดขึ้น  มีคดีอุกฉกรรจ์น้อยที่สุด  การกระทำผิดมีน้อยรายที่แสดงการทารุณร้ายกาจ

การเป็นอยู่และการอยู่กินของราษฎรจังหวัดนี้  นับว่าตกอยู่ในฐานะที่ยากจนเป็นส่วนมาก  เนื่องจากการเศรษฐกิจไม่เจริญเพราะการคมนาคมไม่สะดวก  การกินอยู่และการนุ่งห่ม  ราษฎรเป็นผู้กินง่ายอยู่ง่ายและไม่ฟุ่มเฟือยเป็นผู้ที่มัธยัสถ์ดี  ถึงแม้จะยากจนก็ไม่สู้เดือดร้อนถึงกู้หนี้ยืมสินของผู้อื่นมาใช้

เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกนั้นเองที่ชุมชนในตำบลที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนี้มีตลาดค้าขายน้อย  เพราะหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงมีน้อย  ที่ชุมชนตลาดอำเภอวัดป่าอันเป็นที่ตั้งจังหวัดหล่มศักดิ์เก่า  มีตลาดค้าขายและชุมชนหนาแน่นมากว่า  เนื่องจากมีหมู่บ้านและผู้คนตั้งอยู่ใกล้ชิดมากกว่ากัน  โรงจำหน่ายกระแสไฟฟ้า  ประปา  โรงสี  ไม่มีเลย  มีโรงทำน้ำแข็งอยู่ที่อำเภอวัดป่า โรง  ทำน้ำแข็งจำหน่ายได้ฉะเพาะฤดูแล้งเท่านั้น  ทั้งนี้ก็เพราะการคมนามคมไม่ดี  ไม่มีทางส่งไปจำหน่ายนอกท้องที่ได้

สิ่งที่ควรจะทราบอีกอย่างหนึ่ง  คือ  ในจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์มีแร่ทองคำที่เขาน้ำก้ออยู่ในตำบลน้ำก้อ  อำเภอวัดป่า  แร่ทองคำแห่งนี้ได้มีชนชาติอิตาลีเคยไปทดลองทำครั้งหนึ่งเมื่อราว  ..๑๒๒  ได้นำเอาเครื่องจักรไปจัดทำแต่ยังไม่สำเร็จ  ก็ป่วยถึงแก่กรรม  จึงได้ทิ้งเครื่องจักรเครื่องเหล็กอยู่จนบัดนี้  แร่ทองคำในที่แห่งนี้  ราษฎรได้อาศัยร่อนหาแร่ทองคำเป็นการอาชีพอยู่จนบัดนี้  และยังมีอีกหลายแห่งอยู่ในท้องที่อำเภอวัดป่า  และหล่มเก่า  กับอำเภอเมืองเพ็ชร์บูรณ์  ราษฎรได้อาศัยร่อนหาแร่ทองคำเช่นเดียวกัน  แต่บางแห่งราษฎรยังปกปิดไว้  โดยความเชื่อถือผีสางว่า  ถ้าบอกกับผู้อื่นให้รู้   กลัวว่าตนผู้บอกจะตายด้วยอภินิหารของผี  แร่ทองคำที่กล่าวนี้  หากจะมีท่านผู้ใดต้องการดู  สำหรับจะได้คิด  จัดการอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ  เชิญไปพบ  บอกความประสงค์กับข้าพเจ้าได้ 

ข้าพเจ้าพูดกับท่านทั้งหลายมาแล้วนี้  เห็นว่านานพอควรจึงขอยุตติไว้  ขอท่านผู้ฟังทั้งหลายจงมีความสุข สวัสดี.

RT หนังสือเข้าประชุม_06

2เมื่อ .. 2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้ทำการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ได้ทำการจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยรวบรวมหัวเมืองสำคัญตามชายแดนของประเทศจัดตั้งเป็นเขตการปกครองขนาดใหญ่ขึ้นมาเรียกว่ามณฑลในมณฑลก็จะแบ่งการปกครองย่อยลงไปเป็น เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน 

ในเวลานั้น ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ในปัจจุบันนี้  มีอยู่ 3 เมืองด้วยกัน คือ เมืองเพ็ชร์บูรณ์ เมืองวิเชียร เมืองหล่มศักดิ์ โดยหล่มเก่าเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองหล่มศักดิ์

ต่อมาเมื่อ .. 2442 ได้มีการประกาศจัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้น ได้โอนเมืองหล่มศักดิ์มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรให้เป็นอำเภอ มาขึ้นกับเมืองเพ็ชร์บูรณ์  มณฑลเพชรบูรณ์ยุคแรกจึงประกอบด้วยสองเมืองคือ เมืองเพ็ชร์บูรณ์ และเมืองหล่มศักดิ์

เมื่อ .. 2459 ได้มีการยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ และในปีเดียวกันนี้ ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่าเมือง” ให้ใช้คำว่าจังหวัด  จึงเกิดเป็นจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ และจังหวัดหล่มศักดิ์  โดยจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ มี 4 อำเภอ แต่ที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดในปัจจุบันอยู่ 2 อำเภอ คือ .เมือง และ .วิเชียร  ส่วนจังหวัดหล่มศักดิ์ มี 2 อำเภอ คือ .เมือง และ .หล่มเก่า ซึ่งต่อมา เมื่อ .. 2460 .เมือง ของจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น .เมืองเพ็ชร์บูรณ์  และ .เมือง ของจังหวัดหล่มศักดิ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น .วัดป่า และใน .. 2460 นี้เอง ก็ได้มีประกาศจัดตั้ง กิ่งอำเภอชนแดน ขึ้นกับ .เมืองเพ็ชร์บูรณ์

ต่อมา .. 2474 ได้ยุบเลิกจังหวัดหล่มศักดิ์ และได้โอน .วัดป่า และ .หล่มเก่า มาขึ้นกับจังหวัดเพ็ชร์บูรณ์  ดังนั้น จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ จึงมีพื้นที่ 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ  คือ .เมืองเพ็ชร์บูรณ์ .วิเชียร .วัดป่า .หล่มเก่า กิ่ง .ชนแดน และเมื่อ .. 2481 .วัดป่าก็ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น .หล่มศักดิ์ และเมื่อ .. 2489 เป็น .หล่มสัก ในที่สุด

สำหรับอำเภอวิเชียรบุรีนั้น เมื่อ .. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น .ท่าโรง ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ แต่ต่อมา เมื่อ .. 2487 ก็ได้กลับมาใช้ชื่อ .วิเชียรบุรี อีกครั้ง

จากนั้น ก็มีการจัดตั้งอำเภอต่าง เพิ่มขึ้นมาในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดังนี้

กิ่งอำเภอชนแดน ที่ได้ประกาศจัดตั้งมาตั้งแต่ .. 2460  ได้มีประกาศยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชนแดน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2499

..  2504 ประกาศแยกกิ่งอำเภอหนองไผ่ ขึ้นในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และได้ยกฐานะเป็นอำเภอหนองไผ่ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม  2506 

..  2513 ประกาศแยกกิ่งอำเภอศรีเทพขึ้นในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรีอีกและได้ยกฐานะเป็นอำเภอศรีเทพ  เมื่อวันที่ 8  สิงหาคม  .. 2519

.  2518  ประกาศตั้งกิ่งอำเภอบึงสามพันขึ้นที่พื้นที่อำเภอหนองไผ่  และได้ยกฐานะเป็นอำเภอบึงสามพันเมื่อวันที่ 26 มีนาคม .. 2522

.. 2526 ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอวังโป่งขึ้นในพื้นที่อำเภอชนแดน และยกฐานะเป็นอำเภอวังโป่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ..2533

.. 2521 ประกาศตั้งกิ่งอำเภอน้ำหนาว ขึ้นกับอำเภอหล่มเก่า และได้ยกฐานะเป็นอำเภอน้ำหนาว เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2534

.. 2527 ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเขาค้อ ในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์และอำเภอหล่มสัก และได้ยกฐานะเป็นอำเภอเขาค้อ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2534

ปัจจุบันนี้ จังหวัดเพชรบูรณ์จึงประกอบด้วย 11 อำเภอ คือ .เมืองเพชรบูรณ์ .หล่มสัก .หล่มเก่า .วิเชียรบุรี .ชนแดน .หนองไผ่ .ศรีเทพ .บึงสามพัน .วังโป่ง .น้ำหนาว และ .เขาค้อ

สำหรับความเป็นมาของชื่อแต่ละอำเภอนั้น มีดังนี้

  1. เพชรบูรณ์ เป็นชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากชื่อดั้งเดิม คือ เพชบุระ ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร
  2. หล่มเก่า ชื่อดั้งเดิมคือ เมืองลุ่ม ลุมบาจาย เมืองหล่ม และหล่มสัก อยู่ริมน้ำพุง ต่อมาเมื่อมีการตั้งเมืองหล่มสักแห่งใหม่ เมืองหล่มเดิมจึงกลายเป็น หล่มเก่า
  3. หล่มสัก เป็นเมืองตั้งใหม่ริมน้ำสัก โดยใช้ชื่อ หล่มสัก ซึ่งเป็นชื่อของเมืองเดิมที่อยู่ริมน้ำพุง และเมืองเดิมก็เปลี่ยนเป็นหล่มเก่า
  4. วิเชียรบุรี เดิมชื่อ เมืองศรีเทพ เมืองท่าโรง ต่อมาเปลี่ยนเป็น วิเชียร ตามชื่อเขาแก้วหรือเขาถมอรัตน์ และเป็นวิเชียรบุรีในที่สุด
  5. ชนแดน ตั้งชื่อตามลักษณะที่ตั้งที่เป็นเขตชนแดนกันระหว่าง เพชรบูรณ์ พิจิตร และพิษณุโลก
  6. หนองไผ่ ตั้งชื่อตามหนองน้ำที่มีต้นไผ่ขึ้นอยู่ล้อมรอบ
  7. ศรีเทพ ตั้งชื่อตามเมืองโบราณศรีเทพ
  8. บึงสามพัน ตั้งชื่อตามลำน้ำที่เชื่อว่าในสมัยก่อนมีจระเข้ชุกชุมถึง 3000 ตัว
  9. วังโป่ง เดิมชื่อ วังดินโป่ง ตั้งชื่อตามวังน้ำที่มีดินโป่ง
  10. น้ำหนาว ตั้งชื่อตามถ้ำใหญ่น้ำหนาว
  11. เขาค้อ ตั้งชื่อตามภูเขาลูกหนึ่งในพื้นที่ที่มีต้นค้อขึ้นเป็นจำนวนมาก

อนึ่ง สำหรับชื่ออำเภอเมืองเพชรบูรณ์นั้น การเขียนชื่อต้องเขียนเต็มว่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หรือถ้าจะเขียนย่อ ต้องเขียนว่า อำเภอเมืองฯ แต่ถ้าเขียนว่า อำเภอเมือง เฉย ถือว่าไม่ถูกต้องครับ


13041195_981367921955237_6100053270678696104_o      ความภูมิใจแห่งหล่มสัก (Lomsak Museum : Pride of Lomsak) จัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับเมืองหล่มสักทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตการทำมาหากิน ชาติพันธุ์ ภาพในอดีต และสถานที่สำคัญในอดีต ฯลฯ โดยชั้นล่างจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเมืองหล่มสัก ส่วนชั้นบนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไทหล่ม ด้วยเหตุนี้เอง จึงจะตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า พิพิธภัณฑ์เมืองหล่มศักดิ์ หรือพิพิธภัณฑ์ไทหล่ม ไม่ได้ เพราะหากเอาชื่อใดชื่อหนึ่งมาตั้ง ก็จะขาดความหมายที่มีนัยยะสำคัญของการจัดแสดงอีกด้านหนึ่งไป จึงเลือกใช้ชื่อ พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์เป็นชื่อที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 2 ด้านได้หมดมากกว่า .. 

     ที่ใช้ชื่อ หล่มศักดิ์ “ศ” เพราะว่า เป็นการสะกดแบบโบราณมาช้านาน ซึ่งเพิ่งจะเปลี่ยนมาเป็น “หล่มสัก” อย่างถูกต้องเมื่อ พ.ศ. 2489 นี้เอง จึงอยากจะอนุรักษ์การสะกดแบบเดิมไว้ให้คนหล่มรุ่นหลังได้เรียนรู้อดีตของบ้านเมืองตนครับ

    

     โลโก้ของพิพิธภัณฑ์ เป็น “ล” ในอักษรธรรมลาว ซึ่งเป็นตัวอักษรชั้นสูงที่ใช้ในวัฒนธรรมล้านช้างอันเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมไทหล่ม ซึ่งใช้เป็นพยัญชนะต้นในคำเขียนดั้งเดิมที่เรียกหล่มสักว่า “ลมสัคอัคคบุลี”..

     นอกจากนั้น “ล” ยังมีลักษณะเหมือนสายน้ำและมีหัว 2 ด้าน หมายถึง 2 นที 2 บุรี .. ซึ่งอาจสื่อถึง 2 เมืองคือ หล่มเก่าและหล่มสัก ส่วนการคดโค้งอาจสื่อถึงสายน้ำทั้ง 2 สาย คือน้ำพุงและน้ำสักที่เชื่อมต่อกัน อันเป็นที่ตั้งของ 2 เมืองที่สืบเนื่องกัน เป็นไทเดียวกัน มีรากเหง้าเดียวกัน

     รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารพิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์นี้ เป็นแบบโคโลเนียล (Colonial ) เพื่อรำลึกย้อนยุคไปถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการเริ่มสร้างจวนเจ้าเมืองและศาลกลางเมืองให้กับเมืองต่าง ๆ ทั้งนี้ เพราะบริเวณที่สร้างพิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์นี้ เคยเป็นที่ตั้งของจวนเจ้าเมืองหล่มสักมาก่อน และได้กลายเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองหล่มสักในภายหลัง

     การปกครองบ้านเมืองในสมัยก่อน ผู้ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง นอกจากจะหารายได้ด้วยตัวเองในทางที่ชอบแล้ว ยังต้องมีที่ดินและปลูกบ้านสร้างเรือนที่อยู่เอาเอง บ้านของเจ้าเมืองจะเรียกว่า “จวน” เป็นทรัพย์สินส่วนตัวและจะไม่มีที่ตั้งประจำ ขึ้นอยู่กับหลักแหล่งของเจ้าเมืองแต่ละคนว่าตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงไหน 

     จวนเจ้าเมืองในสมัยก่อน นอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังใช้เป็นสถานที่ว่าราชการไปในตัวด้วย และจะปลูกศาลาโถงไว้ข้างนอกรั้วด้านหน้าจวนหลังหนึ่ง เรียกว่า “ศาลากลาง” ใช้เป็นที่สำหรับประชุมกรมการเมืองหรือใช้เป็นศาลชำระความ .. จวนและศาลากลางจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างควบคู่กันมาแต่โบราณ เมื่อจวนตั้งอยู่ที่ไหน ศาลากลางก็จะตั้งอยู่ที่นั่นด้วย ไม่แยกกันอยู่อย่างในปัจจุบัน

     ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2435 ได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินและได้มีการจัดตั้งมณฑลขึ้น เจ้าเมืองและสมุหเทศาภิบาลจะได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายจากทางราชการสลับสับเปลี่ยนไปมา ฉะนั้น ทางราชการจึงได้สร้างศาลากลางและจวนที่พักประจำเป็นส่วนกลางของทางราชการขึ้น ให้กับเจ้าเมืองแต่ละคนที่ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าเมือง โดยไม่ต้องไปหาที่อยู่ใหม่เพื่อสร้างเป็นจวนของตัวเองอย่างแต่ก่อน แม้ว่าต่อมาทางราชการจะจัดที่อยู่บ้านพักให้กับเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการ ก็ยังนิยมเรียกบ้านพักนั้นว่า จวน เช่นเดิม

     พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์ ภายในมีห้องจัดแสดงทั้งหมด จำนวน 10 ห้องได้แก่ 1. ห้องประชาสัมพันธ์ 2. ห้องยามหล่มสัก 3. ห้องเมืองหล่มสักในอดีต 4. ห้องเสน่ห์เมืองหล่มสัก 5. ห้องหล่มสักเมื่อวันวาน 6. ห้องจังหวัดหล่มศักดิ์ 7. หัองวัฒนธรรมล้านช้าง 8. ห้องไทหล่ม 9. ห้องของกินบ้านเฮา 10. ห้องเฮ็ดเวียกเฮ็ดงาน

     การศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมืองหล่มสักและวัฒนธรรมไทหล่ม .. ต้องใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าด้วยความใส่ใจ ทุ่มเท .. โดยสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ศึกษาเอกสารและภาพถ่ายมากมาย ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ จึงสามารถสรุปและนำเสนอเป็นรูปธรรมในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ .. ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้คนหล่มสักได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ อันเป็นรากเหง้าตัวตนที่แท้จริงของบรรพบุรุษและของตัวเอง .. เพื่อให้เกิดสำนึกรักหล่มสักบ้านเรา อันจะเป็นพลังในการพัฒนาบ้านเมืองของเราต่อไป  ส่วนเรื่องส่งเสริมการท่องเที่ยว จะเป็นวัตถุประสงค์อันดับ 2 รองลงไปครับ

     การศึกษารวบรวมข้อมูลและจัดรูปแบบการนำเสนอโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการก่อสร้างและบริหารโดยเทศบาลเมืองหล่มสัก .. ต้องขอขอบคุณท่านนายกเทศมนตรีเมืองหล่มสัก กิตติ พั้วช่วย ที่เห็นความสำคัญและทุ่มเทให้กับงานวัฒนธรรมท้องถิ่นไทหล่มครับ … 12973107_981368195288543_4938168119970058404_o.jpg

Collage_Fotor06เมืองนครเดิด ข้อต่อประวัติศาสตร์เพชรบูรณ์ที่หายไป .. ปริศนาที่รอการพิสูจน์ ??

เมืองนครเดิดน่าจะเป็นชุมชนโบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ  2000-1500 ปีมาแล้ว เนื่องจากพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ ลูกปัดหิน แวดินเผา เป็นต้น และมีการพัฒนาเป็นเมืองในสมัยทวารวดี เนื่องจากพบแนวคันดินบางส่วนและพบแนวกำแพงอิฐ ลักษณะอิฐเป็นแบบทวารวดี มีขนาดใหญ่ มีแกลบข้าวผสมอยู่  ลักษณะผิวขรุขระ มีเนื้อดินสีแดงเหมือนสีหมากสุก และน่าจะมีการสร้างโบราณสถานขึ้นอย่างน้อย 2 แห่ง เนื่องจากพบเนินโบราณสถานที่มีเศษอิฐลักษณะเดียวกันกระจายอยู่ แต่สภาพปัจจุบันถูกทำลายลงไปมาก และต่อมาน่าจะมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องกันมาจนถึงสมัยสุโขทัย เนื่องจากพบภาชนะดินเผาสมัยสุโขทัยจากเตาเผาสุโขทัย   ต่อมาคงถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าทึบ จนกระทั่งเมื่อ 70-80 ปีก่อน จึงมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนในปัจจุบัน  กลายเป็นหมู่บ้านดงเมือง ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก

หลักฐานที่ขุดพบ

  • โครงกระดูกมนุษย์ โดยมีโบราณวัตถุฝังร่วมกับศพได้แก่ ลูกปัดหินอาเกต  ลูกปัดคาร์เนเลี่ยน ลูกปัดหินหยก แวดินเผา ตุ้มหูหิน เป็นต้น
  • แท่นหินบด ทำจากหินแกรนิต
  • ภาชนะดินเผาประเภท ไหปากผาย  ไห 4 หู  ไหปาก 2 ชั้น มีการตกแต่งด้วยลายกด ขูดขีด และเคลือบ
  • เครื่องมือเหล็ก สภาพขึ้นสนิม และผุกร่อนมาก
  • อิฐขนาดใหญ่ มีแกลบข้าวผสมอยู่ ขนาดความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ความหนา 7.5 เซนติเมตร
  • มีสระน้ำโบราณ 3 แห่ง แต่ตื้นเขินหมด เหลือมองเห็นเพียงขอบสระ

ปัจจุบัน มีหลักฐานที่เป็นโบราณสถานเหลือเพียงซากแนวสันคูเมือง โดยเริ่มต้นตั้งแต่ถนนทางเข้าหมู่บ้านเป็นเนินดิน จากทิศเหนือเฉียงไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้และวกกลับไปทางทิศตะวันออกเข้าหมู่บ้านไปจรดแม่น้ำป่าสัก บริเวณฝั่งแม่น้ำป่าสักทางทิศเหนือมีซากกำแพงเมืองซึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านเรียกพื้นที่บริเวณนั้นว่า “วังอิฐ”

Screen Shot 2016-11-27 at 20.19.21เมืองนครเดิด มีตำนานกล่าวขานและมีเรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่เชื่อมโยงมาถึงตำนานเรื่องอื่น ๆ ในเพชรบูรณ์ เช่น ตำนานพระนางสิขรมหาเทวี ตำนานถนนกุดของบ้านดงมูลเหล็ก ตำนานแม่นางผมหอมของวัดโพธิ์เย็นในเมืองเพชรบูรณ์ เป็นต้น ส่วนชื่อ “นครเดิด” นั้น ชาวบ้านเล่าต่อ ๆ กันมาว่า เดิมในสมัยที่เป็นเมืองของขอมนั้น ซึ่งคนพื้นที่ในสมัยโบราณพากันเรียกขอมที่เข้ามายึดครองพื้นที่แถบนี้ว่า เดช หมายถึงผู้มีฤทธิ์ เป็นที่เกรงขามของคนทั่วไป จึงเรียกเมืองโบราณนี้ว่า นครเดช และต่อมาก็กร่อนมาเป็น นครเดิด ตามการออกเสียงของคนพื้นเมืองโบราณScreen Shot 2016-11-28 at 12.55.08

นอกจากนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาไทย ได้ทรงบันทึกไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดีเรื่อง “ความไข้ที่เมืองเพชรบูรณ์” เมื่อคราวที่เสด็จมาตรวจราชการที่มณฑลเพชรบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2447 ว่า “มีเมืองโบราณเมืองหนึ่ง เรียกกันว่า เมืองนครเดิด แต่อยู่ในดงทึบ ยังมีแต่เทือกเนินดินเป็นแนวกำแพง และมีสระอยู่ในเมืองสระหนึ่งเรียกว่า สระคงคา บางคนได้เคยไปพบหัวยักษ์ทำด้วยหิน พอเชื่อได้ว่าเป็นเมืองพวกขอมสร้างไว้ ….. “

Screen Shot 2016-11-27 at 20.19.57ฉะนั้น จากการสำรวจแนวกำแพงเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าเมืองนครเดิด เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองในอดีต ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และเป็นชุมชนที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งมั่นคงต่อเนื่องกันมานาน ผ่านสมัยทวารวดี สมัยขอม จนมาถึงสมัยสุโขทัย ซึ่งหากมีการสำรวจกันอย่างจริงจัง น่าจะมีข้อมูลทางโบราณคดีที่จะสามารถเชื่อมโยงและไขปริศนาประวัติศาสตร์ส่วนที่ขาดหายไปของดินแดนแถบนี้ของจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ ..

นัยสำคัญในความเก่าแก่ของเมืองนครเดิดนั้น น่าจะเป็นหลักฐานแสดงถึงความมีอยู่จริงของเมืองโบราณสำคัญด้านตะวันออกของกรุงสุโขทัย และอยู่ร่วมสมัยกับพ่อขุนผาเมืองด้วย  จึงสามารถใช้เป็นข้อสันนิษฐานตอบปริศนาที่ว่า  เมืองราด อยู่ที่ไหน ???  ซึ่งคำตอบก็คือ บริเวณส่วนนี้ของอำเภอหล่มสักนี่เอง จึงน่าจะเป็นข้อสมมติฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุด ซึ่งก็สอดคล้องกับเรื่องราวตามความเชื่อตามประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่ว่า เดิมนั้น เมืองนครเดิดเคยเป็นเมืองในปกครองของขอมในที่สมัยขอมมีอำนาจครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิแถบนี้  ต่อมา พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดที่มาจากล้านนา มาตีได้เมืองนครเดิดและเมืองศรีเทพ แต่ก็ได้สร้างเมืองราดขึ้นมาแทน ซึ่งห่างจากที่ตั้งเมืองนครเดิดประมาณ 5 กิโลเมตร นั่นคือบริเวณตำบลบ้านหวายนั่นเอง  ..

 

Screen Shot 2016-11-28 at 12.54.53

ประวัติพ่อขุนผาเมืองและเมืองราดนั้น จารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม บรรทัดที่ 20-21 ได้กล่าวถึงไว้ว่า “.. ลูกพขุนสรีนาวนำถํผูนี (งชี) พรญาผาเมิองเปนขุน ในเมิองราด เมิองลุม …..ก..ลงแสนชาง หมากรอบบาน เมิองอ (อ) กหลวงหลายแกกํ ..”  ลูกพ่อขุนศรีนาวนำถมผู้หนึ่งชื่อ พญาผาเมือง เป็นขุนในเมืองราดเมืองลุม และ บรรยายถึงเมืองราดว่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีแสนช้าง หมากรอบบ้าน และมีเมืองออกหลวงหลายที่สุด .. แสดงว่าเมืองราดต้องมิใช่เมืองเล็ก ๆ ธรรมดา ๆ ที่ไม่มีความสำคัญแต่ประการใดอย่างแน่นอน

ข้อสันนิษฐานที่ว่า เมืองราดอยู่ที่หล่มสักนั้น  เพราะนอกจากหลักฐานเรื่องเมืองโบราณนครเดิดแล้ว ยังสามารถสันนิษฐานได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นศิลาจารึก ดังนี้
     1.  จารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม ที่ได้กล่าวถึงประวัติพ่อขุนผาเมืองไว้ว่า พญาผาเมือง เป็นขุนในเมืองราดเมืองลุม  หลักที่ 2-1นอกจากนั้น ในจารึกเดียวกันนี้ ยังกล่าวถึงเมืองราดคู่กับเมืองสะคาอีกด้วยหลักที่ 2-2
     2.  จารึกหลักที่ 8 เขาสุมนกูฎ  ในสมัยพระยาลิไท กล่าวถึงเมืองบริวารของสุโขทัย หนึ่งในนั้นมีชื่อเมืองราดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถวางตำแหน่งที่ตั้งเมืองที่อยู่ระหว่างทิศเหนือกับทิศตะวันออกของสุโขทัย ได้ 3 เมือง คือ เมืองราด เมืองสะค้า และเมืองลุมบาจายหลักที่ 8 ด้านที่ 4
     3.  จารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยทางทิศตะวันออก ว่ามีเมืองลุมบาจาย สคาหลักที่ 1 ด้านที่ 4
     4.  ทะเบียนโบราณสถาน ของกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณไว้ว่า เมืองลม หรือเมืองลุ่ม เป็นเมืองสมัยสุโขทัย อยู่ที่บ้านหินกลิ้ง ต.หล่มเก่า เมืองนี้มีกำแพงด้านทิศเหนือ 24 เส้น ทิศใต้ 27 เส้น 10 วา ทิศตะวันออกและตะวันตกยาวเท่ากันคือ 87 เส้นimg_4541

จะเห็นได้ว่า ตามจารึกทั้ง 3 หลักนั้น เมืองราดจะเป็นเมืองคู่กัน หรืออยู่กลุ่มเดียวกันกับเมืองลุมหรือลุมบาจาย และเมืองสะค้า และอยู่ทางทิศตะวันออกของสุโขทัย และเมื่อมีเอกสารตามทะเบียนโบราณสถานกรมศิลปากรแล้วว่า เมืองลุ่มหรือเมืองลม ก็คือเมืองหล่ม ซึ่งก็น่าจะเป็นเมืองลุมหรือลุมบาจายนั่นเอง ส่วนเมืองสะค้า จะอยู่ใกล้แม่น้ำโขง ทางตอนเหนือของภาคอีสาน อาจจะเป็นเมืองด่านซ้าย ซึ่งก็เป็นทิศทางเดียวกันกับเมืองหล่ม ฉะนั้น เมืองราดจะไปอยู่ที่อื่น ๆ ใดไม่ได้เลย นอกจากจะเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ หรืออยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเมืองหล่มนี่เอง

หลักฐานอีกประการหนึ่ง จากข้อความในจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม ที่ได้กล่าวถึง พญาผาเมืองเป็นลูกพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งครองเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย และพระมหาเถรศรีศรัทธาผู้ทำจารึกวัดศรีชุมหลักนี้ เป็นหลานลุงของพ่อขุนผาเมือง ก็เกิดที่เมืองสระหลวงสองแคว หรือพิษณุโลกในปัจจุบัน แล้วเมื่อออกผนวช ก็ได้เป็นสังฆราชอยู่ที่สุโขทัย จึงเห็นได้ว่า บรรดาเมืองที่เป็นที่อยู่ของเหล่าวงศาคณาญาติของพ่อขุนผาเมืองล้วนต้องอยู่แถบเดียวกันในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในปัจจุบัน นั่นก็คือ อยู่กลุ่มเดียวกันกับเมืองหล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ด้วย ฉะนั้น ข้อที่มีบางท่านสันนิษฐานว่า เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองอยู่ไปไกลถึงภาคอีสานนั้น ก็ไม่น่าเป็นไปได้

หลักฐานประการต่อมาคือ จารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม ได้เล่าถึงการร่วมรบกันเพื่อชิงเอาเมืองสุโขทัยคืนมาจากขอมสบาดโขลญลำพงของพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว ที่มีถึง 2 ครั้งในเวลาที่ห่างกันไม่นานนัก โดยครั้งแรก พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย และพ่อขุนผาเมืองได้เมืองบางขลง แล้วพ่อขุนผาเมืองก็ยกทัพกลับเมืองราดเมืองสะค้า (บันทัดที่ 24)  อยู่ต่อมา พ่อขุนบางกลางหาวได้ทำการรบกับขอมสบาดโขลญลำพงอีกครั้ง และได้ขอให้กำลังจากพ่อขุนผาเมืองมาช่วยรบอีก จนได้รับชัยชนะ ยึดเมืองสุโขทัยได้ ยกสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาวครอง แล้วก็กลับเมืองราดไป (บันทัดที่ 36) ฉะนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองจะต้องอยู่ไม่ไกลจากเมืองสุโขทัยมากนั้น จึงสามารถยกทัพระดมพลมาร่วมรับกับพ่อขุนบางกลางหาวได้ถึง 2 ครั้งติด ๆ กัน ซึ่งระยะทางดังกล่าวทำให้เห็นว่า เมืองราดที่หล่มสักน่าจะอยู่ในวิสัยที่จะยกทัพไป 2 ครั้งติด ๆ กันดังกล่าวได้ เมืองราดจึงไม่น่าจะอยู่ไกลถึงขนาดเมืองเสมาเมืองโคราช หรือเมืองราชบุรีได้แต่อย่างใด

ประการสุดท้ายคือ ในศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม บันทัดที่ 38-40 ได้กล่าวว่า ต่อมา พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด ได้สร้างเจดีย์สำคัญองค์หนึ่งอันเป็นที่นับถือแก่ผู้คนเป็นอันมาก ประดิษฐานไว้ที่เมืองศรีสัชนาลัย ฉะนั้น ก็สามารถสันนิษฐานต่อไปอีกได้ว่า เมืองเสร็จศึกชิงเมืองสุโขทัยจากขอมสบาดโขลญลำพงแล้ว ท่านก็ไม่ได้ไปไหนไกล ยังคงอยู่สร้างเจดีย์สำคัญจนแล้วเสร็จ จึงไม่ได้ไปครองเมืองอื่นที่อยู่ไกล ๆ หรือเมืองอื่นที่ใหญ่กว่าสุโขทัยแต่อย่างใด เพราะเมืองราดก็เป็นเมืองที่สำคัญอยู่แล้ว (บันทัดที่ 21) และบ้านเมืองสมัยนั้น ก็คงมีขนาดไม่แตกต่างกันมากมายอะไร

ที่สำคัญที่สุด ก็คือ อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ได้ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ที่อำเภอหล่มสักนั้น  เริ่มต้นโดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2518 มอบให้ กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้สร้าง ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2520 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง เมื่อสร้างพระรูปพ่อขุนผาเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนพระแท่น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2527 จะเห็นได้ว่า การดำเนินการก่อสร้างนั้น ได้ใช้เวลาผ่านมาหลายยุคหลายสมัยเป็นเวลาถึง 9 ปีกว่า ผ่านหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่โดยตรง และมีการลงมติกลั่นกรองมาหลายชั้นจากหลายรัฐบาล จนกระทั้งดำเนินการสร้างเสร็จและเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณมาวางศิลาฤกษ์และทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์อีกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำกันอย่างโมเมหรือรวบรัดกระทำโดยเลื่อนลอยไม่มีน้ำหนักแต่ประการใด

นอกจากนั้น กลิ่นอายของพ่อขุนผาเมืองและเมืองราด ที่มีปรากฏอยู่ทั่วไปในดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองและชื่อของพ่อขุนผาเมือง ชื่อของเมืองราด ที่มีปรากฎอยู่ในสิ่งของและสถานที่ทุกหนทุกแห่งในเพชรบูรณ์ เช่น ค่ายพ่อขุนผาเมือง สะพานพ่อขุนผาเมือง โรงเรียนพ่อขุนผาเมือง ฯลฯ  และยังมีเรื่องราวพ่อขุนผาเมืองปรากฏอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตำนาน นิทาน ความเชื่อ สถานที่ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งในดินแดนหล่มสักและหล่มเก่า และอยู่ในจิตใจของชาวเพชรบูรณ์ทุกคนตลอดมา เช่น ตำนานอุ้มพระดำน้ำและพระพุทธมหาธรรมราชา ตำนานแม่นางเข็มทองที่วัดตาล เรื่องราวเกี่ยวกับข้าวสารดำ เจดีย์พ่อขุนผาเมืองและเจดีย์พระนางสิขรเทวี เป็นต้น .. ในขณะที่สถานที่อื่น ๆ ไม่มีกลิ่นอายเช่นนี้เลย

ฉะนั้น ใครที่จะมากล่าวอ้างว่า เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองนั้นอยู่ที่อื่น  ไม่ได้อยู่ที่ หล่มสัก นั้น ก็คงต้องหาหลักฐานที่หนักแน่นกว่าคำกล่าวความเห็นธรรมดา ๆ มาหักล้างข้อสมมติฐานอันหนักแน่นของชาวหล่มสัก ชาวเพชรบูรณ์เช่นนี้

Screen Shot 2016-11-28 at 12.55.43

273417911_10157370525867168_869930516734987599_n

ข้อสันนิษฐาน เมืองราด เมืองลุม และพ่อขุนผาเมือง ในศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม โดย ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว.

ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม ตอนท่ี 3 บันทัด 20-41 อักษรปัจจุบัน ในส่วนที่กล่าวถึงพ่อขุนผาเมือง
ด้านหนึ่ง ชำรุด ชำรุด ชำรุด ชำรุด …………..สํเดจพระส….ผูเปน. …………..มิอสํเดจพระ….สรี………… ……….มหา….สรีสรธาราชจูลามูณีสรีรดดนลงกาทีบมหาสามิเปน (เจา)…….. มาวลิก คงคา ในลงกา…..ดเมิองกำพไล เถิง..ิยสํเดจหา ……….ทีนนนก่พระ (ท) นตธาดุสูคนธเจดีมีสาม…….นนน ……….กในนครสรลวงสองแฅวปูชีพรญาสรีนาวนำถํ…..เปนพ่ ………สรางในนครสองอนนอนนนิงชีนครสุกโขไทอนนนิงชีนครสรีเ (ส) ชนาไล..พระส………………….นนน… …………………………งเปนขุนยิขุนนางนกก. …………..เมิองชลยง………ง….พขุนนำถํ..ห… …….. …………….ดา …เบิองในหรดี เถิงฉอดสองเหมิน ……..สีพยา (ม) …….. เบิองหววนอนสองแสนพยา (ม) ..าว เบิอ งตีนนอนเถิง…ด…… เมิอ…ค…….พขุนนำถํดายไ.เมิองสุก โขไท..พ..หย……….อนนพ…..งวงรู๋วงัชางแกลวหาน……. ……..เขา……ห…..นน…หววชางดวยอีแดงพุะเลิง……. ……….พขุนนำถํใส…….อีแดงพุะเลิงใหญปรมานเทาบาดเว…เมิ องแทงเมิองสุกโขไท พขุนนำถํ….ก..กใหเขาเ..ันแกทานแล .พิ……. .ก..สอง…….ัง…นจกก..กรท…ลูกพขุนสรีนาวนำถํผูนี (งชี) พรญาผาเมิองเปนขุน ในเมิองราด เมิองลุม …..ก..ลงแสนชางหมากรอบบานเมิองอ (อ) กหลวงหลายแกกํ เมิอกอนพขุน บางกลางหาว .. ไป เมิองบางยางใหเอาก. พลพขุน ผาเมิองเจาเมิองราดพาพขุนผาเมิองผดาจ (กนน) แลกนน พขุนบางกลางหาวไดเมิองสริเสชนาไล……พขุนผาเมิองเจาเมิองราดเอาพลมา …..บางขลง … เวนบางขลงแกพขุนผาเมิองแลวพขุนผาเมิองเอาพลเมิอเมิองราด เมิองส คาได…….สริเสชนาไลสุกโขไทขอมสมาดโขลญลำพงรบ….. แลวพขุนบางกลางหาวไป ….พลพขุนผาเมิองเจาเมิองราดมา…ใหผชุ?พล พขุนบางกลางหาวแลพขุนผาเมิองขี ชาง…………พรญาผสบกนน…….ตินใหขีดวยกนนเหนิอหววชาง ปรค๋นแลวพ ขุนบางกลางหาวแลขอมสมาดโขลญลำพงรบกนน พขุนบางกลางหาวใหไปบอกแกพขุนผาเมิองพขุ นผาเมิอง…….(ขอม)สมาดโขลญลำพงห..พายพง พขุนผาเมิองจิงยงัเมิองสุกโข ไทเขาได เวนเมิองแกพขุนบางกลางหาว พขุนกลางหาวมิสูเขาเพิอเกรงแกพระสหายพขุนผา เมิองจิงเอาพลออกพขุนกลางหาวจิงเขาเมิอง พขุนผาเมิองจิงอภิเสกพขุนบางกลางหาวให เมิอ งสุโขไทใหทงัชีตนแกพระสหายรยกชีสริอินทรบดินทราทิตย นามเดิมกมรแดงอญผาเมิอง เมิอ กอนผีฟาเจาเมิองสริโสธรปุรใหลูกสาวชีนางสิขรมหาเทวีกบบขนนไชยสรีใหนามกยรแกพขุนผาเมิอ งหยมพขุนบางกลางหาวไดชีสรีอินทรบดีนทราทิตยเพิอพขุนผาเมิองเอาชีตนใหแกพระสหายอิก เมิองสุโขไทเพิอนนน พขุนสริอินทรบดินทราทีตยแลพขุนผาเมิองเอาพลตบกนนพาทวว…. ก.เ..แตเมิอเพรงเตรลาคลาทุกแหงทุกพายตางคนตางเมิอบานเมิอเมิองดงัเกาลูกพขุนสริอิ นทราทีตยผูนิงชีพขุนรามราชปราญารูธรรมกอพระสรีรดดนธาดุอนนนิงในสรีสชนาไลหลานพขุนสริ อินทราทีตยผูนิงชีธรมราชาพุ. รูบุนรูธรรมมีปรีชญาแกกํบ่มิกล่าวถีเลย พขุนผาเมิองเจ๋าเมิอง ราดนน๋นใหส่างเจดีมีคูแกฝูงทาวพรญาเปนอาจารพรนธิบาลแกฝูงกสดตราธิราชทงัหลายมา …ยในสริเสชนาไล…ทุกแหงใหเปนบู…..สพายลูนปูนหลงั ทงัหลายญอมให…สรร เลิกโอยทานพ….ครูหนกกหนาแกกํ มีหลานพขุนผาเมิองผูนิงชีสํเดจพระมหาเถรสรีสรธา ราชจูลามูนีสรีรดดนลงกาทิบมหาสามิเปนเจาพระมหาเถรสริสรธาราชจูลามูนีหลานพ่(ขุน) ผาเมิ องน๋นนผูเชิอมกกกทำบุนยกทำธรรม มกกโอนทานทุกเมิอบ่คิดแคนจกกใหแกทาน…. งสอาดงามหนกกหนาจิงโอยทานบินทีบาดโอยทานบ่มิขาดสกกอนนโอย ……….

2534.jpgUm Phra Dam Nam : The Holy Ceremony of Phechabura

Phra Buddha Maha Dhammaraja is the holy Buddha image and has been worshiped by the people of Phetchabun since ancient time, which they have respectfully brought to the Diving Buddha ceremony. The ceremony of diving Buddha image in Phetchabun is held once a year. The festival usually takes place on the 15th day of waning moon in the 10th lunar month. The image presents abode at Tri Bhumi Temple, Muang District, Phetchabun. The image sits in the crossed leg meditation posture, in the style of the Lopburi school of Khmer-influenced art and is casted from bronze; the lap is 13 inches wide and the height is 18 inches. There is no platform. The image has a wide face, a protruding mouth and his long ears touching the shoulder. He dresses with royal dress, gorgeous diadem, bracelet and sash. 

The People of Phetchabun believe that Pho Khun Pha Muang who was the Lord of Rad (Lom-Sak district) received the image from Jayavaraman VII who was a king of the Khmer Empire to present abode as a symbol of the state and he also allowed his royal daughter, Singkhondevi, to be married with Pho Khun Pha Muang. Pho Khun Pha Muang marched his army to cooperate with Pho Khun Bang Klang Hao who was the ruler of the city-state Bang Yang (Nakorn Thai District), his friend, to defeat the Khmer troops out of Sukhothai and to liberate Thai from the Khmer rule that made Singkhondevi wroth so that she brunt Muang Rad crushingly. She then decided to commit suicide by diving in Pasak River. So the troops and the court officials must move the image by rafting along Pasak River for safety. But the river was devious and torrent that made the raft break. The image drowned to the bottom of the river and disappeared until the villagers who went fishing in Pasak River found it. From there on, the people have held the diving Buddha ceremony every year.

The Diving Buddha formerly was called “Sart Thai Festival”, “Bathing Buddha Festival” and “Tri Bhumi Temple Boat Racing Festival”. Now it is officially called “The Diving Buddha” (Um Phra Dam Nam).  The people of Phetchabun believe according to legend that around almost 500 years ago, a group of villagers went fishing in the Pasak River as usual. After fishing all day long, but caught nothing, they took a rest at Wang Makham Fab near the river bank. There was the mysterious phenomenon; there were the storm and the thunder. Suddenly, there was giant whirlpool from the normally quiet river, a Buddha image emerged from the middle of the whirlpool. The villagers believed it that was a sacred omen, brought it back with them and gave it to the city ruler. It was moved to be enshrined at Tri Bhumi Temple which is the most important temple at the city. The following year, on the 15th day of waning moon in the 10th lunar month, the Buddha image disappeared from the temple. Astonished, the people found the image floating in the river at the first point that it had emerged. They brought the image back to the temple and made a consensus that the ruler of Phetchabun will respectfully bring the image back to dive at Wang Makham Fab on the 15th day of waning moon in the 10th lunar month each year to mark the event. So the Diving Buddha has been the Phetchabun festival since that time. 

     15417702_10202538286775384_1485396020_o

Phetchabun : The 3rd Gateway of LIMEC to Green Tourism and Ago-Industry
เพชรบูรณ์ : ประตูที่ 3 แห่ง LIMEC สู่การท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์และเกษตรอุตสาหกรรม

  

LIMEC หรือ Luangprabang -Indochina-Mawlamyine Economic Corridor คือ การรวมตัวกันของของภาคเอกชนอันประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของ 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย สปป.ลาว และสหภาพเมียนมา ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และเส้นทางคมนาคมติดต่อกันได้  โดยประเทศไทย คือกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 “อินโดจีน” ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก ส่วนของ สปป.ลาว ได้แก่ แขวงไชยะบุรี แขวงหลวงพระบาง และสหภาพเมียนมา ได้แก่ รัฐกระเหรี่ยง รัฐมอญ ..

     LIMEC จึงเป็น ระเบียงเศรษฐกิจระหว่าง หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ซึ่งเป็นแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงเมืองที่สำคัญจากสมาชิกทั้ง 3 ประเทศเข้าด้วยกัน ได้แก่ หลวงพระบาง ไซยะบุลี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เมียวดี พะอาน และเมาะลำไย โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ 5 ด้านคือ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา สุขภาพ และโลจิสติกส์  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการทำธุรกิจ มีการเคลื่อนย้ายทั้งสินค้า บริการ ผู้คน เงินทุนและสารสนเทศ ระหว่างกันและกัน อันจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันของประชาชนในทุกเมืองของสมาชิกในทั้ง 3 ประเทศ

     LIMEC เริ่มต้นด้วยการประชุมนานาชาติ (LIMEC International Conference) ร่วมกันของทั้ง 3 ประเทศเป็นครั้งแรกที่จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นเจ้าภาพ เมื่อพ.ศ. 2558 โดยใช้จุดมุ่งหมายในการจัดงานว่า “ภูดู่ ประตูแห่งมิตรภาพและโอกาส” หลังจากนั้น ใน พ.ศ. 2559 จังหวัดสุโขทัยก็ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติเป็นครั้งที่ 2 โดยใช้จุดมุ่งหมายในการจัดงานว่า “เปิดประตูสู่มรดกโลกเพื่อการท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน” จากการประชุมทั้ง 2 ครั้งนั้น ได้มีการนำเสนอสภาพปัญหาในทุก ๆ ด้านที่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการเปิดการติดต่อเชื่องโยงการทำธุรกิจระหว่างกันของทั้ง 3 ประเทศ อันสมควรจะได้รับการแก้ไขต่อไป นอกจากนั้น ยังได้มีการนำเสนอมาตรการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรจัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมเร่งเร้าให้มีการพัฒนาร่วมกัน และที่สำคัญ เพื่อเป็นการผลักดันสิ่งต่าง ๆ ตามข้อเสนอเหล่านี้ให้เกิดมีผลการปฏิบัติขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้ตกลงร่วมกันให้จัดตั้ง คณะกรรมาธิการบริหาร LIMEC (LIMEC Committiee) ที่ประกอบด้วยสมาชิกจากทั้ง 3 ประเทศขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการตกลงร่วมกันในที่ประชุม
     78770.jpgจนกระทั้ง ในวันที่ 27 กพ. 2560 ได้มีการประชุม LIMEC Committee เป็นครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีการลงนามร่วมกันจากตัวแทนภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศที่เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการ ประกาศเป็น “ปฏิญญาเพชรบูรณ์” (Phetchabun Declaration) ถึงจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของ LIMEC พร้อมทั้งได้มีการพิจารณาและอนุมัติ ข้อบังคับการดำเนินงานของ LIMEC Committee และได้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งประธาน รองประธาน เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเหรัญญิก ในคราวเดียวกันนั้นด้วย

     16326464_10202742996813007_245918640_oในวันที่ 26-30 มิย. 2560 จังหวัดเพชรบูรณ์ จะได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนานาชาติ LIMEC ครั้งที่ 3 (The 3rd LIMEC International Conference)  โดยการประชุมในครั้งนี้ เพชรบูรณ์จะได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดงานว่า “PHETCHABUN : The 3rd GATEWAY of LIMEC to GREEN TOURISM and AGRO INDUSTRY” หรือ เพชรบูรณ์ : ประตูที่ 3 แห่ง LIMEC สู่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเกษตรอุตสาหกรรม โดยจังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนดให้ชูประเด็นที่เป็นศักยภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิก LIMEC ได้รับรู้รับทราบ ดังนี้

     The 3rd Gateway of LIMEC หรือประตูที่ 3 แห่ง LIMEC นั้น หมายความว่า แต่เดิมนั้น ประตูเชื่อมต่อระหว่างประเทศของ LIMEC ได้ถูกกำหนดไว้เพียง 2 ช่องทาง คือ ประตูที่ 1 เชื่อมต่อกับสหภาพเมียนมา ทางด่านแม่สอดของจังหวัดตาก และประตูที่ 2 เชื่อมต่อกับ สปป.ลาว ทางด่านภูดู่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ด้วยศักยภาพในด้านทำเลที่ตั้งของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีช่องทางสามารถใช้เชื่อมต่อกันได้ขึ้นมาใหม่อีก 1 ช่องทางเป็นประตูที่ 3 นั่นคือ ที่ด่านสากลบ้านนากระเซ็ง อ.ท่าลี่ จ.เลย โดยเริ่มต้นจาก หลวงพระบาง ไซยะบุลี ปากลาย แก่นท้าว และใช้ช่องทางด่านนากระเซ็ง เป็นประตูเชื่อมต่อรับเข้ามาในประเทศไทย แล้วผ่านมาที่ตัวเมืองด่านซ้าย หล่มเก่า หล่มสัก เขาค้อ ไปสี่แยกอินโดจีนของพิษณุโลก สุโขทัย ตาก ผ่านด่านแม่สอด เข้าไปยังเมียวดี พะอาน แล้วไปสิ้นสุดที่เมาะลำไยของเมียนมา

     ส่วน Green Tourism คือศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและเชิงวัฒนธรรม และ Agro-Industry คือ ศักยภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์ทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต้องการจะสื่อสารออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านสมาชิก LIMEC  อันจะเป็นการชักชวนและนำมาซึ่งการติดต่อทำธุรกิจการค้า การลงทุน การบริการกับจังหวัดเพชรบูรณ์ในศักยภาพทั้ง 2 ทางนี้อย่างเป็นรูปธรรมในที่สุด  ซึ่งทีมงาน LIMEC เพชรบูรณ์เชื่อว่า หากเริ่มมีการต่อต่อเชื่อมโยงทางธุรกิจใน 2 ด้านนี้จนสำเร็จแล้ว หลังจากนั้น ธุรกิจประเภทอื่น ๆ ก็จะตามมาในที่สุด

     นอกจากนั้น ในการจัดการประชุมนานาชาติในครั้งนี้ จังหวัดเพชรบูรณ์จะได้เสริมให้มีกิจกรรมใหม่เพิ่มขึ้น นั่นคือ จากจัดการแสดงสินค้านานาชาติ โดยเชิญชวนผู้ประกอบการจากลาว เมียนมา และจาก 5 จังหวัดของประเทศไทย ได้มาจัดการแสดงสินค้าและบริการของตนเองรวมกันในสถานที่เดียวกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ด้รู้จักกัน เรียนรู้กันและกัน อันจะนำไปสู่การจับคู่กันทำธุรกิจ (Bussiness Matching) ร่วมกันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

     สำหรับโครงการและกิจกรรมต่อเนื่องจากการประชุมนานาชาติในครั้งนี้เสร็จสิ้นไปแล้ว ก็จะมีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการต่อไปเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำธุรกิจร่วมกันอย่างจริงจัง นั่นคือ

     1. โครงการ LIMEC Business Matching  เป็นโครงการนำผู้ประกอบการธุรกิจด้านต่าง ๆ ที่สนใจจะไปจับคู่การทำธุรกิจกับผู้ประกอบการในกลุ่ม LIMEC โดยจะจัดเป็นงานออกบูธแสดงสินค้าและข้อมูลการให้บริการ โดยจะหมุนเวียนไปจัดในเมืองต่าง ๆ ในทุกประเทศของสมาชิก LIMEC

     2. โครงการ LIMEC Start Up เป็นการจัดอบรมผู้ประกอบการรายใหม่ที่พร้อมจะตั้งต้นทำธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเชิญผู้ประกอบการรายใหม่ดังกล่าวจากทุกเมืองในประเทศสมาชิก LIMEC ให้มาเข้าร่วมอบรมสัมนาร่วมกัน ทำความรู้จักกัน เรียนรู้กัน และจับมือเริ่มทำธุรกิจด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

     3. โครงการ 4 World heritage Tourist Route หรือ เส้นทางท่องเที่ยว 4 มรดกโลก เป็นการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเส้นใหม่ โดยชูแหล่งมรดกโลกทั้ง 4 แห่งเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวตามแหล่งที่เป็นมรดกโลก โดยเริ่มต้นที่ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งทีมงาน LIMEC เพชรบูรณ์มั่นใจว่า การเปิดเส้นทางท่องเที่ยว 4 มรดกโลกนี้ จะสามารถดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงให้เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ในประเทศสมาชิก LIMEC และในจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มากขึ้น
     screen-shot-2016-11-12-at-11-01-38-3ฉะนั้น ระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC (Luangprabang -Indochina-Mawlamyine Economic Corridor) นี้ จะเป็นโอกาสอันดีของจังหวัดเพชรบูรณ์และคนเพชรบูรณ์ ที่จะได้มีการขยายการทำธุรกิจระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน อันจะสามารถนำรายได้เข้าสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ได้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่คนเพชรบูรณ์ควรจะต้องรับรู้และเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเตรียมการณ์ เตรียมตัวรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นนี้ได้อย่างเหมาะสมและถูกทาง

Collage_Fotor copy.jpg

เหมืองแร่ คือ มัจจุราชตัวร้ายที่แฝงมากับการหลอกล่อผลประโยชน์เพียงน้อยนิดให้กับชาวบ้าน

1. สารพิษอันตราย ไม่ตายก็พิการ การทำเหมืองแร่ จะเกิด “สารพิษโลหะหนัก” ที่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมด้วย เช่น อาร์เซนิก(สารหนู) แมงกานีส แคดเมียม ฯลฯ ซึ่งเมื่อมีการเปิดหน้าดินด้วยการระเบิด ขุด และขนย้าย ฝุ่นละอองพิษเหล่านี้จะปนเปื้อนในอากาศ ดินและน้ำ ซึ่งจะเข้าไปสะสมในร่างกายของมนุษย์จากการสัมผัสโดยตรง เช่น จับต้อง อาบน้ำ ปลิวมาถูกตัว สูดหายใจเข้าไป อีกทั้งจะเข้าไปปนเปื้อนอยู่ในอาหารทั้งพืชและสัตว์ เมื่อคนกินเข้าไปก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ทำลายสุขภาพผู้คนทั้งที่ทำงานในเหมือง ที่อยู่อาศัยรอบๆเหมือง และผู้ที่บริโภคน้ำในรัศมีไกลหลายกิโลเมตร เกิดอาการเจ็บป่วย พิการ และล้มตายเป็นใบไม้ร่วง โดยไม่มีใครรับผิดชอบ และยังจะมีผลถึงเด็กเกิดใหม่ที่จะต้องพิกลพิการไป

2. ชุมชนหมู่บ้านดั้งเดิมล่มสลาย การทำเหมืองแร่เป็นระบบเปิด มีการระเบิดดินและหิน ขุด ขนย้ายเพื่อนำไปแยกแร่ออกจากหิน ขั้นตอนเหล่านี้ก่อให้เกิดเสียงรบกวนและเกิดฝุ่นละอองกระจายในอากาศ ฝุ่นละอองเหล่านี้ล้วนแต่มีสารโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายของคน เช่น สารหนู แมงกานีส แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว ทองแดง นอกจากนั้น ยังมีการกองสินแร่ในกลางแจ้ง ซึ่งในฤดูฝน น้ำฝนก็จะก็จะชะล้างสารพิษเหล่านี้ไหลลงสู่ธรรมชาติทั้งดินและน้ำ  แล้วก็ถูกดูดซึมเข้าสู่สิ่งที่เป็นอาหารทั้งพืชและสัตว์ของคน  ทำให้อาหารต่าง ๆ ที่เคยกินได้ขายได้ กลับกลายเป็นพิษหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าว พืช ผัก ผลไม้ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ไม่สามารถใช้บริโภคหรือนำไปขายได้อีกต่อไป  ทำให้ต้องไปซื้อวัตถุดิบจากที่อื่นมาทำกิน หรือไม่ก็ต้องย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น ทำให้หมู่บ้านชุมชนดั้งเดิมที่อยู่กันมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวดของพวกเราต้องล่มสลายลง

3. ผลประโยชน์อันน้อยนิด รายได้ผลกำไรมหาศาลจากการทำเหมืองตกเป็นของนายทุนต่างชาติ แม้จะอ้างว่าก่อให้เกิดการจ้างงาน ก็เป็นเพียงไม่กี่คนเพราะงานในเหมืองแร่เป็นงานที่ใช้เครื่องจักรกลเป็นหลัก ค่าภาคหลวงหรือภาษีที่จ่ายคืนมาก็เพียงน้อยนิด หรือสาธารณะประโยชน์ที่เจียดมาทำให้ชุมชนก็มีเพียงแค่พอเป็นพิธีเท่านั้น สิ่งที่เขาจ่ายมาทั้งหมดนี้รวมแล้วก็จะถือว่าเป็นเพียงนิดเดียวเท่านั้นหากเทียบกับผลประโยชน์ที่เขาตักตวงไปจากแผ่นดินของเรา แล้วทิ้งหายนะอันใหญ่หลวงไว้ให้เรา แม้แต่เงินที่เราได้มาจากการขายที่ดินให้เขา ก็จะไม่มีเหลือ เพราะต้องเอามารักษาตัวหมด

4. แค่เข้ามาเจาะสำรวจได้ ก็สายไปเสียแล้ว  เหมืองแร่ทุกแห่ง ก่อนเปิดทำการนั้น จะทำการสัญญากับชาวบ้านไว้มากมาย เช่นว่า จะเข้าเพียงสำรวจเฉย ๆ จะดูแลป้องกันสารพิษ มลภาวะต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นอย่าเด็ดขาดโดยมีวิธีการอย่างนั้นอย่างนี้ จะเข้ามาดูแลช่วยเหลืองานสาธารณประโยชน์ทุกอย่าง ฯลฯ  แต่เมื่อใดที่เปิดเหมืองได้แล้ว ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปเป็น การตักตวงผลประโยชน์โดยไม่ใส่ใจชุมชน ดูแลชุมชนนิดหน่อยแค่พอเป็นพิธี เมื่อมีปัญหาสารพิษรั่วหรือความเสียหายเกิดขึ้นก็จะปัดความรับผิดชอบ และเมื่อเขาเปิดเหมืองได้แล้ว เขาจะมีรายได้มหาศาลมีพลังการเงินมากมาย จึงอย่าไปหวังเลยว่า เมื่อเหมืองแร่ใดสร้างปัญหาแล้วถึงจะค่อยไปเรียกร้องให้ปิดเหมืองได้ในภายหลัง แม้กระทั่งเมื่อขุดแร่ไปหมดแล้ว ปัญหาสารพิษก็ยังจะตกค้างอยู่เป็นร้อย ๆ ปีไม่มีหมด ฉะนั้น เราจึงไม่ต้องให้เข้ามาเลยแม้จะเพียงเจาะสำรวจ เพราะการเจาะสำรวจ ก็คือกระบวนเริ่มต้นไปสู่การทำเหมืองจริง ๆ นั่นเอง มิฉะนั้น เขาจะมาสำรวจทำไม  เราจึงต้องไม่ให้เข้ามาเจาะในที่ดินเราเลย  และไม่ขายที่ดินให้เขามาเจาะทำเหมืองแร่อย่างเด็ดขาด

Collage_Fotorหายนะทั้งหมดนี้ มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วที่ .. เหมืองที่วังโป่ง-เพชรบูรณ์ เหมืองที่เชียงคาน วังสะพุง -เลย เหมืองที่แม่ตาว -ตาก เหมืองที่คลิตี้ -กาญจนบุรี ฯลฯ รวมทั้งเหมืองแบบเดียวกันหลาย ๆ แห่งในต่างประเทศ

ในปีหนึ่ง ๆ เหมืองทองคำในประเทศไทย ผลิตทองคำและเงินได้มูลค่าประมาณ 6,500 กว่าล้านบาท แต่จ่ายค่าภาคหลวงให้แก่รัฐเพียงประมาณ  500 กว่าล้านบาท
ลองเทียบกับรายได้ของคนเพชรบูรณ์จากผลิตผลการเกษตร การเพาะปลูก ประมง และปศุสัตว์ ราวปีละ 40,000 ล้านบาท สิ่งแวดล้อมอันบริสุทธิ์งดงามของจังหวัดเพชรบูรณ์สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้อีกปีละ 5,000 กว่าล้านบาท

465613_374784742613561_912120577_o_Fotor_Collageแล้วเราจะยอมให้ผืนแผ่นดินเพชรบูรณ์อันบริสุทธิ์ งดงาม และอุดมสมบูรณ์ของเรา ต้องมาถูกทำลายด้วยสารพิษโลหะหนักจากการทำเหมืองแร่ เพียงเพื่อที่จะแลกกับผลประโยชน์อันน้อยนิดจากนายทุนเหมืองแร่ หรือครับ ??

>>>อย่าร่วมมือ อย่าให้เข้าที่ดิน อย่าขายที่ดิน กับนายทุนเหมืองแร่ต่างชาติ
>>>เฝ้าระวัง คัดค้าน ต่อต้าน ขับไล่นายทุนเหมืองแร่ อย่าให้เข้ามาในเขตบ้านเรา

16326464_10202742996813007_245918640_oเรียน ท่านมุขมนตรีแห่งรัฐมอญ รัฐกระเหรี่ยง ท่านเจ้าแขวงไซยะบุลี แขวงหลวงพระบาง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณฺ์ .. และท่านผู้มีเกียรติ

  • กระผม นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ (Chairman of Phetchabun Cultural Council)  และที่ปรึกษาคณะทำงานจัดการประชุม LIMEC International Conference ครั้งที่ 3
  • ในนามของคนจังหวัดเพชรบูรณ์ ผมขอถือโอกาสนี้กล่าวต้อนรับท่านด้วยความยินดียิ่ง  จังหวัดเพชรบูรณ์ถือว่า เป็นเกียรติสูงสุดที่ท่านได้กรุณามาจัดการประชุม LIMEC Committee ครั้งที่ 1 ในจังหวัดเพชรบูรณ์ของเรา
  • จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มจังหวัด Indo-China ที่ประกอบด้วย 5 จังหวัด ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยเพชรบูรณ์อยู่ด้านทิศตะวันออกสุดของกลุ่ม  แต่ถ้าหากมองจากแผ่นที่ประเทศไทยแล้ว จังหวัดเพชรบูรณ์จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานของประเทศไทย จุดที่ตั้งของจังหวัดเพชรบูรณ์จึงเปรียบเสมือนเป็นจุดกึ่งกลางของประเทศไทยและของคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยก็ว่าได้ … เพชรบูรณ์จึงได้เล่นบทบาทที่สำคัญเป็นสะพานเชื่อมต่อ (Land Bridge) การคมนาคม การค้า การลงทุน การบริการ การท่องเที่ยว ระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอด
    download

img_0399

  • ประกอบกับเส้นทางสาย East-West Economic Corridor (EWEC) ที่ต่อไปในอนาคตจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่สำคัญที่สุดสำหรับภูมิภาคประชาคม ASEAN ของเรานี้ ได้พาดผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์  และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเส้นทางสาย Northeasthern Economic Corridor (NEEC) ที่เริ่มจากกรุงเทพมหานคร ไปจนถึงเมืองมรดกโลกหลวงพระบางและเชื่อมต่อไปยังตอนเหนือของเวียดนามได้นั้น .. เส้นทางทั้ง 2 สายนี้ มาตัดกันเกิดเป็นชุมทางใหญ่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ของเราพอดี ฉะนั้น หากดูแผ่นที่ที่เส้นทางทั้ง 2 สายนี้ ที่มาตัดกันแล้ว .. เราจะสามารถเรียกสี่แยกดังกล่าวนี้ เป็น “สี่แยก ASEAN” เลยก็ว่าได้
    img_0003
  • จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองเกษตรที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดอาหารสัตว์  ข้าว  อ้อยและน้ำตาล ถั่วเขียว ใบยาสูบ ขิง มะขามหวาน และที่สำคัญคือ ผักสด นานาชนิดจากเพชรบูรณ์ ที่ส่งไปขายเกือบครึ่งประเทศไทย เรามีไซโลและโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมากมาย และเราพร้อมที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นศักยภาพร่วมค้าขายร่วมทำธุรกิจกับเพื่อนสมาชิก LIMEC
  • จังหวัดเพชรบูรณ์มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของประเทศไทย คือ มีทั้งการท่องเที่ยงทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม ซึ่งเรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ปีละเกือบ 2 ล้านคน  โดยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ เขาค้อ ภูทับเบิก น้ำหนาว และตาดหมอก ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภูเขาสูง อากาสหนาวเย็น ทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวอย่างได้มาตรฐานและครบครัน ..
  • จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย สามารถนับสืบย้อนหลังไปได้นับ 1000 ปี และยังคงเป็นบ้านเมืองชุมชนที่มีความสำคัญต่อเนื่องกันมาจวบจนปัจจุบัน  ฉะนั้น เราจึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมากมายหลายแห่ง  เรามี “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (Sri Thep Historical Park)” ที่กำลังเข้าสู่กระบวนการประกาศเป็นมรดกโลก (UNESCO World Heritage) นอกจากนั้น เรายังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมชนเผ่าต่าง ๆ ที่งดงามและเป็นที่น่าศึกษาและน่าสนใจมาชมของนักท่องเที่ยวมากมาย ซึ่งเราพร้อมจะเชื่อมโยงศักยภาพทางการท่องเที่ยวของเราในทุก ๆ ด้านร่วมกับสมาชิก LIMEC
    15417702_10202538286775384_1485396020_o
  • ในด้านเกี่ยวกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เรามีประชากรประมาณ 1 ล้านคนที่มีรายได้ต่อปีและกำลังซื้อที่อยู่ในอัตราที่สูง มีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สมบูรณ์  มีมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเยี่ยม ทำให้เราภาคภูมิใจในศักยภาพด้านต่าง ๆ ของเพชรบูรณ์บ้านเรา ที่ทำให้เราอยู่อาศัยในแผ่นดินแห่งนี้อย่างมีความสุข .. อันเป็นที่มาของวิสัยทัศน์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ว่า เป็น “ดินแดนแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มาเยือน (Land of Happiness for Residents and Visitors)”
  • แม้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ของเรา จะไม่ได้ติดกับชายแดนของ สปป.ลาว .. แต่เรามีความดีใจที่จะนำเสนอว่า ประชาชนในเขตหล่มสัก หล่มเก่า ซึ่งเป็นซึ่งเป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเพชรบูรณ์ และมีพื้นที่ติดต่อไปยัง อำเภอด่านซ้าย อำเภอท่าลี่ ของจังหวัดเลยนั้น  ผู้คนที่เมืองหล่มที่เราเรียกตัวเองว่า “ไทหล่ม” นี้ เป็นกลุ่มคนชาติพันธุ์เดียวกันกับคนหลวงพระบางและไซยะบุลี ที่ได้อยู่อาศัยแผ่ขยายลงมา พวกเรามีภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ เป็นอย่างเดียวกันเลย จึงเปรียบเสมือนเป็นญาติพี่น้องที่สนิทกันได้ไปมาหาสู่กันในครั้งนี้  .. ดังนั้น “หล่มสัก หล่มเก่า” ซึ่งเป็นเมืองวัฒนธรรมล้านช้างหลวงพระบางที่อยู่ลึกเข้ามามากที่สุดในเขตแดนประเทศไทย  จึงเปรียบเสมือนเป็น “ประตูสู่ดินแดนวัฒนธรรมล้านช้างหลวงพระบาง (Gateway to the Land of Lan Chang LuangPrabang Culture)” นั่นเอง
    screen-shot-2016-11-12-at-11-01-38-3
  • นอกจากนั้น ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ของเรากำลังจะจัดทำแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปยังเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง โดยผ่านทางเมืองหล่มสักหล่มเก่า ด่านซ้าย และข้ามผ่านด่านชายแดนน้ำเหืองหรือด่านนากระเซ็งซึ่งเป็นด่านมาตรฐานขนาดใหญ่  ไปสู่เมืองแก่นท้าว ไชยะบุลี และหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเส้นทางที่ตรง สะดวก และมีความสวยงามตลอดเส้นทาง ซึ่งคาดว่า จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก .. ยิ่งไปกว่านั้น เรากำลังขอให้ผู้ประกอบการรถโดยสารของจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดให้มีรถยนต์โดยสารระหว่างประเทศขึ้น วิ่งระหว่างเพชรบูรณ์และหลวงพระบางในอนาคตอันใกล้นี้ ..%e0%b8%94%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b9%87%e0%b8%87
  • สำหรับเมียร์ม่า ถึงแม้จังหวัดเพชรบูรณ์จะอยู่ห่างไกลจากชายแดนรัฐมอญและรัฐกระเหรี่ยงมากพอสมควร ซึ่งในอนาคต เราคงจะติดต่อไปมาหาสู่กันสะดวกมากขึ้น หากเส้นทาง East-West Economic Corridor (EWEC) เสร็จสมบูรณ์  แต่เราก็มีความยินดีที่จะกล่าวว่า คนเพชรบูรณ์เรามีความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมและคุ้ยเคยกับรัฐทั้ง 2 เป็นอย่างมาก เพราะเราได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากผู้คนจากรัฐมอญ และรัฐกระเหรี่ยง ที่เข้ามาทำงานอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจำนวนมาก อันมีทั้ง พยู กระเหรี่ยง และพม่า .. ซึ่งเราก็ได้อยู่ร่วมกันอย่างพี่น้อง อยู่ด้วยกัน ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข และเราก็ได้ดูแลกันเป็นอย่างดี
  • ท้ายที่สุดนี้ ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นสถานที่จัดประชุม LIMEC Committee ครั้งที่ 1 นี้ และเราก็กำลังจะเป็นเจ้าภาพต้อนรับท่านอีกครั้ง ในการจัดการประชุม LIMEC International Conference ครั้งที่ 3 ในระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2560 นี้ .. เราขอต้อนรับท่านด้วยความยินดียิ่ง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า LIMEC จะเป็นการเชื่อมต่อมิตรภาพของเราทั้ง 3 ประเทศที่จะทำให้เราก้าวเดินไปข้างหน้าสู่ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันในทุก ๆ เรื่อง ตลอดไป
    committee27260_170228_0126

16402900_10153641467767168_5773438596403245114_oพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น .. ทำไปทำไม ? มีไว้เพื่ออะไร ??

ในฐานะเป็นประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เคยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ และเป็นผู้ผลักดันให้เกิดมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อนุสาวรีย์ อนุสรณ์ สิ่งก่อสร้างที่เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์หลาย ๆ แห่งนั้น ก็ด้วยเหตุผล 3 ประการดังนี้ 

13041195_981367921955237_6100053270678696104_o

1. วัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างสำนึกรักบ้านเกิดเมืองนอนให้ผู้คนในพื้นที่ ..
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นการจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ตลอดจนเรื่องราวร่วมสมัย ฯลฯ ที่ได้มีการสืบค้นจากชุมชนท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของผู้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ .. โดยมุ่งหวังเพื่อจะให้เป็นสถานที่รวบรวม เก็บบันทึกและจัดแสดง ให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ได้ชม ได้มาต่อยอดกัน .. เพื่อเรียนรู้รากเหง้าตัวตนของตนเอง โดยไม่ให้สูญหายจางหายไปตามกาลเวลา .. ทั้งนี้ มุ่งหวังว่าจะทำให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในบ้านเมืองตน เกิดเป็นสำนึกรักบ้านเกิดเมืองนอน และเป็นพลังในการพัฒนาบ้านเมืองตัวเองต่อไป

2. วัตถุประสงค์รอง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สามารถเป็นจุดท่องเที่ยวที่จะให้นักท่องเที่ยวได้มาแวะชม เรียนรู้และซาบซึ้งในวัฒนธรรมท้องถิ่นอันงดงาม และจับจ่ายใช้สอยเงินในชุมชน อันเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งให้ข้อมูลที่จะใช้ประกอบการท่องเที่ยวในจุดอื่น ๆ ในพื้นที่เดียวกันได้อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแต่ละแห่งจึงต้องเป็นเนื้อเดียวกันกับชุมชนและไม่แปลกแยกออกไป พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นอย่างสร้างสรรค์และแบบยั่งยืนได้ ..

3. เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Space) สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและสิ่งก่อสร้างเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น ล้วนแต่เปฺิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนในแต่ละชุมชน ที่จะได้ออกมาใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นการสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ซื่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งความรักความสามัคคี และร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองของตนเอง

10661746_10152059580952168_8507885616455544790_o

นอกจากนั้น การจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแต่ละแห่ง จะต้องมีกระบวนการตั้งแต่เริ่มหาข้อมูล ซึ่งแต่ละแห่งจะต้องทำให้ละเอียดรอบคอบ จึงใช้เวลานาน จากนั้น ต้องมาทำการออกแบบการนำเสนอจนกระทั้งถึงการลงมือจัดแสดงซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ จะเห็นได้ว่าแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องงบประมาณจำนวนมาก ฉะนั้น การไปของบประมาณมาเพื่อดำเนินการแต่ละแห่งนั้น ล้วนแต่จะต้องตอบโจทย์ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดกับท้องถิ่นทั้งนั้น ถึงจะได้งบประมาณมาดำเนินการ ฉะนั้น วัตถุประสงค์ข้อนี้จึงละเลยไม่ได้ และจำเป็นที่จะต้องแสดงให้ชัดเจนครับ

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หอนิทรรศน์ อาคาร สิ่งก่อสร้าง และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากความทุ่มเท ใส่ใจ และความปรารถนาดีต่อเพชรบูรณ์ ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ๆ คนครับ

ทำไมเราต้องมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ในบ้านในเมืองเรา ??

พิพิธภัณฑ์ คือ สถานที่ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของสังคม พราะเป็นแหล่งรวบรวม เก็บบันทึก จัดแสดง และถ่ายทอด วัฒนธรรม อันเป็น รากเหง้า ตัวตน ความเป็นมา ความคิด ความเชื่อ จารีต ประเพณีและวิวัฒนาการ ของสังคมนั้น ๆ 

หากเราไม่รู้จัก หลงลืม หรือหมิ่นแคลนวัฒนธรรมอันเป็น รากเหง้า ตัวตนที่แท้จริงของเราไปเสียแล้ว .. แล้วเราจะเหลือคุณค่าอะไรในตัวเรา ให้ภาคภูมิใจได้อีกเล่า ??